วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554

ช่องสื่อสารข้อมูลของคอมพิวเตอร์

RS-232 ย่อมาจาก Recommended Standard-232 เป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อข้อมูลแบบอนุกรม กำหนดโดย EIA (Electronics Industry Association) หรือ สมาคมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของอเมริกา ใช้กับการสื่อสารแบบจุดต่อจุด โดยใช้สายเชื่อมต่อ DB แบบ 25 และ 9 เข็ม ที่ไม่ประสานจังหวะระหว่างคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ต่อพ่วง มีการทำงานแบบสองทางพร้อมกัน (Full-duplex) โดยอาจใช้สายสัญญาณอื่นร่วมเพื่อทำแฮนด์เชค (Hand-shake) หรือไม่ก็ได้คะ

ทั้งนี้มาตรฐาน RS-232 จำกัดความยาวสายไว้ที่ 50 ฟุด (หรือประมาณ 15 เมตร) สำหรับการส่งสัญญาณที่ความเร็ว 19,200 บิทต่อวินาที โดยที่ความยาวสายจะต้องสั้นลงถ้าต้องการสื่อสารที่ความเร็วสูงขึ้นนะคะ ตัวผู้ ตัวเมืย





สาย UTP

สาย UTP (Unshielded Twisted Pair) หรือสาย CAT (Category)



เป็นสายเส้นเล็กจำนวน 8 เส้นตีเกลียวคู่ มีอยู่ 4 คู่ ไม่มีเส้นลวดถัก (shield) เพราะการตีเกลียวคู่เป็นการลดสัญญาณรบกวนอยู่แล้ว การใช้งานจะต้องมีการแค๊มหัว RJ-45 เข้ากับสาย UTP แล้วนำไปเสียบเข้ากับ Hub มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล 10/100Mbps ปัจจุบันนิยมใช้สาย CAT 5 กันมาก เพราะสนับสนุนการรับ-ส่งข้อมูลความเร็วตั้งแต่ 10-100 Mbpsและได้เกือบ 1000 Mbps คืออยู่ราวๆ 700 - 800 Mbps ตอนนี้ที่ใช้อยู่ คือวงแลนวงใหม่ที่ได้ทำให้กับ อาคารสถาบันดำรงราชานุภาพ


เเหล่งข้อมูล : http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=684c231053f9310b



Parallel Port


Parallel Port หรือที่เรียกว่า พอร์ตคู่ขนาน คือช่องทางการเชื่อมต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับภายนอก (external connectors) มีลักษณะเป็นพอร์ตตัวเมียที่มี 25 ขา อยู่ด้านหลังเคสคอมพิวเตอร์ เดิมทีเรียกพอร์ตคู่ขนานว่า "พริ้นท์เตอร์พอร์ต" (Printer Port) เพราะว่ามีการนำพอร์ตขนาน มาใช้งานติดต่อกับเครื่องพรินเตอร์เป็นหลัก โดยที่พอร์ตขนานนั้นสามารถให้ความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลได้รวดเร็วกว่าพอร์ตแบบอนุกรม และยังสามารถส่งข้อมูลขนาน 8 บิตออกไปได้โดยตรงเลยคะ ก็เปรียบเหมือนกับรถยนต์ที่วิ่งบนถนนหลายเลน จะทำให้ไปถึงจุดปลายทางได้อย่างรวดเร็วนั่นเอง

แต่ว่าปัจจุบันแม้จะยังมีอุปกรณ์รองรับพอร์ตคู่ขนานอยู่ แต่ก็พบไม่มากนัก ส่วนใหญ่จะใช้ต่อเชื่อมกับเครื่องพิมพ์ขนาดกลางและสแกนเนอร์บางรุ่นเท่านั้น พอร์ตคู่ขนานกลายเป็นพอร์ตรุ่นเก่า ที่ให้ความเร็วในการต่อเชื่อมที่ดีในระดับหนึ่ง เพราะมีการพัฒนาพอร์ตแบบ USB ขึ้นมาใช้และได้รับความนิยมแพร่หลายกว่า



เเหล่งข้อมูล: http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=42e77f6761fa0ef3



Serial Port


Serial Port คือ พอร์ตอนุกรม ในการสื่อสารข้อมูลนั้นพอร์ตอนุกรมจะมีความเร็วในการสื่อสารที่ช้ากว่าแบบ ขนาน เพราะการเคลื่อนย้ายข้อมูลแบบอนุกรมนั้นเป็นการส่งข้อมูลครั้งละ 1 บิต แต่พอร์ตขนานนั้นสามารถส่งข้อมูลทีละหลายๆ บิทพร้อมๆกันได้ แต่ข้อดีของการสื่อสารข้อมูลแบบอนุกรมคือ สามารถส่งข้อมูลได้ในระยะทางที่ไกลกว่าแบบขนาน และใช้สายสัญญาณที่น้อยกว่าการสื่อสารข้อมูลแบบขนาน
ประเภทของการสื่อสารแบบอนุกรมแบ่งตามลักษณะสัญญาณในการส่งแบ่งได้ 2 แบบ คือ
1.การสื่อสารแบบซิงโครนัส (Synchronous) เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยใช้สัญญาณนาฬิกาในการควบคุมจังหวะของการรับส่งสัญญาณ
2.การสื่อสารแบบอะซิงโครนัส (Asynchronous) เป็นการสื่อสารที่ใช้สายข้อมูลเพียงตัวเดียว จะใช้รูปแบบของการส่งข้อมูล(Bit Pattern) เป็นตัวกำหนดว่าส่วนไหนเป็นส่วนเริ่มต้นข้อมูล ส่วนไหนเป็นตัวข้อมูล ส่วนไหนจะเป็นตัวตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และส่วนไหนเป็นส่วนปิดท้ายของข้อมูล โดยต้องกำหนดให้สัญญาณนาฬิกาเท่ากันทั้งภาคส่งและภาครับ
สำหรับการติดต่อสื่อสารลักษณะนี้จะใช้การรับส่งข้อมูลแบบ Asynchronous คือจะใช้สายข้อมูลเพียงสายเดียว
มาตรฐาน RS-232 เป็นมาตรฐานของการรับส่งข้อมูลแบบอนุกรมที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อที่จะทำ ให้อุปกรณ์ต่อพ่วงจากผู้ผลิตต่างกันสามารถทำงานร่วมกันได้ มาตรฐานRS-232 นี้ได้รับความนิยมและใช้กันกว้างขวางมากในปัจจุบัน ซึ่งสามารถแบ่งอุปกรณ์ได้เป็น 2 ประเภทคือ
1. อุปกรณ์ DTE (Data Terminal Equipment) เป็นอุปกรณ์สำหรับส่งข้อมูล (Output) โดยทั่วไปคอนเน็กเตอร์จะเป็นตัวผู้
2. อุปกรณ์ DCE (Data Communication Equipment) เป็นอุปกรณ์สำหรับรับข้อมูล (Input) โดยทั่วไปคอนเน็กเตอร์จะเป็นตัวเมีย
คอน เน็กเตอร์ที่นิยมใช้จะเป็นชนิด D-Type แบบ 9 ขา และแบบ 25 ขา โดยจะติดตั้งอยู่หลังเครื่องคอมพิวเตอร์ ระดับแรงดันจะมีค่าระหว่าง -3 โวลต์ ถึง-15โวลต์

ข้อดีข้อเสียของการใช้พอร์ตอนุกรม (serial port) /ขนาน (parallel port)
- พอร์ตขนานเขียนโปรแกรมรับส่งง่าย และส่งข้อมูลได้อัตราความเร็วสูง
- พอร์ตอนุกรมมีจำนวนเส้นสัญญาณน้อยกว่า ทำให้ประหยัดค่าสายต่างๆ มากกว่า แต่ ข้อมูลหนึ่งชุดจะต้องเสียเวลาส่งนานขึ้น (เพราะต้องเรียงบิตส่งกันไป)
ปัจจุบันข้อเด่นข้อด้อยดังกล่าวไม่ได้เห็นชัด ทั้งนี้เพราะพอร์ตอนุกรมความเร็วสูงมีแล้ว (USB)ในขณะที่พอร์ต
อนุกรมเก่าๆ เองยังต้องมีสายควบคุมมากมาย (acknowledge bus มาก)



แหล่งข้อมูล : http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=54bef6a1b5c0b594





port /หมายเลข port

สำหรับพวก Application ในชั้น layer สูงๆ ที่ใช้ TCP (Transmission Control Protocol) หรือ UDP (User Datagram Protocol) จะมีหมายเลข Port หมายเลขของ Port จะเป็นเลข 16 bit เริ่มตั้งแต่ 0 ถึง 65535 หมายเลข Port ใช้สำหรับตัดสินว่า service ใดที่ต้องการเรียกใช้ ในทางทฤษฎี หมายเลข Port แต่ละหมายเลขถูกเลือกสำหรับ service ใดๆ ขึ้นอยู่กับ OS (operating system) ที่ใช้ ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน แต่ได้มีกำหนดขึ้นให้ใช้ค่อนข้างเป็นมาตรฐานเพื่อให้มีการติดต่อการส่งข้อมูลที่ดีขึ้น ทาง Internet Assigned Numbers Authority (IANA) เป็นหน่วยงานกลางในการประสานการเลือกใช้ Port ว่า Port หมายเลขใดควรเหมาะสำหรับ Service ใด และได้กำหนดใน Request For Comments (RFC') 1700 ตัวอย่างเช่น เลือกใช้ TCP Port หมายเลข 23 กับ Service Telnet และเลือกใช้ UDP Port หมายเลข 69 สำหรับ Service Trivial File transfer Protocol (TFTP) ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นบางส่วนของ File/etc/services แสดงให้เห็นว่า หมายเลข Port แต่ละหมายเลขได้ถูกจับคู่กับ Transport Protocol หนึ่งหรือสอง Protocol ซึ่งหมายความว่า UPP หรือ TCP อาจจะใช้ หมายเลข Port เดียวกันก็ได้ เนื่องจากเป็น Protocol ที่ต่างกัน








หมายเลข Port ถูกจัดแบ่งเป็น 2 ประเภท ตามที่ได้กำหนดใน RFC' 1700 (รายละเอียด Download และศึกษาได้ที่ ftp://ftp.isi.edn/in-notes/rfc'1700.txt) คือ well known Ports และ Registered Ports



  • Well Known Ports คือจะเป็น Port ที่ระบบส่วนใหญ่ กำหนดให้ใช้โดย Privileged User (ผู้ใช้ที่มีสิทธิพิเศษ) โดย port เหล่านี้ ใช้สำหรับการติดต่อระหว่างเครื่องที่มีระบบเวลาที่ยาวนาน วัตถุประสงค์เพื่อให้ service แก่ผู้ใช้ (ที่ไม่รู้จักหรือคุ้นเคย) แปลกหน้า จึงจำเป็นต้องกำหนด Port ติดต่อสำหรับ Service นั้นๆ

  • Registered Ports จะเป็น Port หมายเลข 1024 ขึ้นไป ซึ่ง IANA ไม่ได้กำหนดไว้



ตัวอย่างการใช้ Port
แต่ละ Transport layer segment จะมีส่วนย่อยที่ประกอบไปด้วยหมายเลข Port ของเครื่องปลายทาง โดยที่เครื่องปลายทาง (Destination hostt) จะใช้ Port นี้ในการส่งข้อมูลให้ไหลกับ Application ได้ถูกต้อง หน้าที่ในการส่งหรือแจกจ่าย Segment ของข้อมูลให้ตรงกับ Application เรียกว่าการ "Demultiplexing" ในทางกลับกันเครื่องต้นทาง (Source host) หน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลจาก Application และเพิ่ม header เพื่อสร้าง segment เรียกว่า "Multiplexing" หรือถ้ายกตัวอย่างเป็นภาษาทั่วๆ ไป คือ ในแต่ละบ้านจะมีคน 1 คนรับผิดชอบเก็บจดหมายจากกล่องจดหมาย ถ้าเป็นการ Demultiplexing คนๆ นั้นจะแจกจ่ายจดหมายที่จ่าหน้าซองให้สอดคล้องกับบุคคลนั้นๆ ในบ้าน ในทางตรงกันข้าม ถ้าเป็นการ Multiplexing คนๆ นั้นก็จะรวบรวมจดหมายจากสมาชิกในบ้านและทำหน้าที่ส่งออกไป Demultiplexing ตามรูปที่ 1








รูปที่ 1


หมายเลข Port จะอยู่ใน 32 bit แรกของ TCP และ UDP header โดยที่ 16 bit แรกเป็นหมายเลข Port ของเครื่องต้นทาง ขณะที่ 16 bit ต่อมาเป็นหมายเลข Port ของ เครื่องปลายทาง ดังแสดงในรูปที่สอง








รูปที่ 2


TCP หรือ UDP จะดูที่ข้อมูลหมายเลข Port ใน header เพื่อพิจารณาว่า Application ใดที่ต้องการข้อมูลนั้นๆ หมายเลข Port ทั้งต้นทางและปลายทางจำเป็นต้องมีเพื่อให้ เครื่องปลายทางมีความสามารถที่จะรัน process มากกว่า 1 process ในเวลาเดียวกัน


ตามที่ได้กล่าวในข้างต้น "Well know Ports" เป็น Port ที่ค่อนข้างมาตรฐาน ทำให้เครื่องที่อยู่ไกลออกไป (Remote Computer) สามารถรู้ได้ว่าจะติดต่อกับทาง Port หมายเลขอะไรสำหรับ Service เฉพาะนั้นๆ อย่างไรก็ตามยังมี Port อีกประเภทที่เรียกว่า Dynamically Allocated Port ซึ่ง Port ประเภทนี้ไม่ได้ถูก assign ไว้แต่เดิม แต่จะถูก assign เมื่อจำเป็น Port ประเภทนี้ให้ความสะดวกและความคล่องตัวสำหรับระบบที่มีผู้ใช้หลายๆคนพร้อมๆคน ระบบจะต้องให้ความมั่นใจว่าจะไม่ assign หมายเลข Port ซ้ำกัน


ยกตัวอย่าง สมมติว่ามีผู้ใช้ต้องการใช้ Service Telnet ทางเครื่องต้นทางจะทำการ assign ให้ หมายเลข Dynamic Port (เช่น 3044) โดยที่หมายเลข Port ปลายทางคือ 23 เครื่องจะ assign หมายเลข Port ปลายทางเป็น23 เพราะว่า เป็น Well Known Port สำหรับ Service Telnet จากนั้นเครื่องปลายทางจะทำการตอบรับกลับโดยใช้ Port หมายเลข 23 เป็นหมายเลขต้นทาง และ หมายเลข Port 3044 เป็นหมายเลข ปลายทาง


กลุ่มของหมายเลข Port และ หมายเลข IP เราเรียกว่า Socket ซึ่งจะเป็นตัวบ่งชี้ที่เฉพาะเจาะจงสำหรับ Network process หนึ่งเดียวที่มีอยู่ในทั้งระบบ Internet คู่ของ Socket ที่ประกอบด้วย Socket หนึ่งตัว สำหรับต้นทาง และอีกตัว สำหรับปลายทาง สามารถใช้บรรยายถึงคุณลักษณะของ Connection oriented protocols เช่น








รูปที่ 3


ถ้าผู้ใช้คนที่ 2 ต้องการใช้ Service Telnet จากเครื่องปลายทางเครื่องเดียวกัน ผู้ใช้นั้นก็จะได้รับการ assign หมายเลข Port ต้นทางที่แตกต่างกันออกไป โดยมีหมายเลข Port ปลายทางเหมือนกันกับผู้ใช้คนแรกดังรูปที่ 4 จะเห็นได้ว่าการจับคู่ของหมายเลข Port และหมายเลข IP ทั้งต้นทางและปลายทางสามารถทำให้แยกความแตกต่างของ Internet connection ระหว่างเครื่องต้นทางและเครื่องปลายทางได้


Active และ Passive Ports
สิ่งสุดท้ายที่จะต้องกล่าวถึงเกี่ยวกับ Port ก็คือ ความแตกต่างระหว่าง Active และ Passive Port
ในการใช้การติดต่อด้วย TCP สามารถกระทำได้ 2 วิธีคือ Passive และ Active Connection Passive connection คือ การติดต่อที่ Application process สั่งให้ TCP รอหมายเลข Port สำหรับการร้องขอการติดต่อจาก Source Host เมื่อ TCP ได้รับการร้องขอแล้วจึงทำการเลือกหมายเลข Port ให้ แต่ถ้าเป็นแบบ Active TCP ก็จะให้ Application process เป็นฝ่ายเลือกหมายเลข Port ให้เลย


เเหล่งข้อมูล : http://www.thaicert.nectec.or.th/paper/basic/port.php



LAN RJ45 -UTP


คือ หัวต่อที่ใช้กับสายสัญญาณเชื่อมเครือข่ายแบบสายคู่ตีเกลียว (สาย UTP) ตัวผู้ มี 2 ชนิด ได้แก่
1.หัวต่อตัวผู้ RJ-45 (หรือที่เรียกว่ RJ-45 Connecter หรือ RJ-45 Jack Plug) เป็นอุปกรณ์สำหรับใส่ที่ปลายสาย UTP มีลักษณะเป็นพลาสติกสี่เหลี่ยมคล้ายหัวต่อโทรศัพท์ มีช่องสำหรับเสียบสายที่ด้านหลัง ด้านล่างเรียบ ส่วนด้านบนมีตัวล๊อค ถ้าหันหน้าเข้าด้านหน้าของหัวต่อพิน 1 จะอยู่ทางด้านซ้ายมือของเรานะคะ ในขณะที่พิน 8 จะอยู่ทางขวามือ
2.หัวต่อตัวเมีย RJ-45 (หรือเรียกว่า RJ-45 Jack Face) มีลักษณะเป็นเบ้าเสียบสำหรับหัวต่อ RJ-45 ตัวผู้ เมื่อมองจากด้านที่จะนำหัวต่อตัวผู้เสียบ พิน 8 จะอยู่ทางซ้าย ส่วนพิน 1 จะอยู่ทางขวา หัวต่อตัวเมียจะมีลักษณะเป็นกล่องมีช่องสำหรับเสียบหัวต่อ ด้านในกล่องจะมีขั้ว
ซึ่งจะเป็นส่วนที่เชื่อมกับสายนำสัญญาณ































วิธีการเข้าสาย UTP กับขั้วต่อ RJ45
1. นำสาย UTP มาปอกฉนวนหุ้มที่ปลายสายทั้งสองด้านยาวประมาณ 3 ซ.ม. เมื่อปอกแล้วจะพบเห็นสายอยู่ 4 คู่ บิดเป็นเกลี่ยวแยกสีไว้ชีดเจน

2. คลายเกลียวที่สายออก แล้วแรียงสายตามสีที่กำหนด แบ่งการเชื่อมต่อสายสัญญาณได้ 2 วิธี
2.1 สายสัญญาณชนิดที่เชื่อมต่อจากคอมพิวเตอร์เข้า Hub หรือ Switch การเชื่อมต่อแบบนี้จะมีการเรียงสีเพื่อเข้าขั้ว RJ45 เหมือนกันทั้งสองด้าน

รูปแสดง การเรียงสีของสาย UTP
ชนิดที่เชื่อมต่อจากคอมพิวเตอร์เข้า Hub หรือ Switch ความเร็ว 100 Mbps















































หัวสายด้านที่ 1

ลำดับสายที่

หัวสายด้านที่ 2

ขาว

ส้ม

1

ขาว

ส้ม

ส้ม

2

ส้ม

ขาว

เขียว

3

ขาว

เขียว

ฟ้า

4

ฟ้า

ขาว

ฟ้า

5

ขาว

ฟ้า

เขียว

6

เขียว

ขาว

น้ำตาล

7

ขาว

น้ำตาล

น้ำตาล

8

น้ำตาล
2.2 สายสัญญาณชนิดไขว้สาย เรียกว่า สายคอสโอเวอร์ ( Crossover ) ในกรณีนี้ใช้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์สองตัวเข้าด้วยกัน

รูปแสดง การไขว้สาย UTP ชนิดที่เชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอรสองตัว















































หัวสายด้านที่ 1

ลำดับสายที่

หัวสายด้านที่ 2

ขาว

ส้ม

1

ขาว

เขียว

ส้ม

2

เขียว

ขาว

เขียว

3

ขาว

ส้ม

ฟ้า

4

ฟ้า

ขาว

ฟ้า

5

ขาว

ฟ้า

เขียว

6

ส้ม

ขาว

น้ำตาล

7

ขาว

น้ำตาล

น้ำตาล

8

น้ำตาล

3. เมื่อเรี่ยงสายตามสีในขั้นตอนที่ 2 แล้วตัดสายให้เหลือประมาณ 1.5 ซ.ม.
4. เสียบสาย UTP ที่ตัดและเรียงสีไว้แล้ว เข้าไปในขั้วต่อ RJ45 โดยให้หมายเลขสายที่เรากำหนดไว้ตามขั้นตอนที่ 2 ตรงกับหมายเลขขั้ว RJ45


5. เสียบขั้ว RJ45 เข้าไปในร่องคีม ดันสาย UTP ให้สนิทอีกครั้ง แล้วใช้มือบีบด้ามคีมให้แน่น โลหะทองเหลืองของขั้ว RJ45 จะเข้าไปสัมผัสกับสายทองแดง ข้อควรระวัง การดึงหัว RJ45 ออกจากคีมให้ใช้มือบีบหางพลาสติกสำหรับล็อกก่อน


เเหล่งข้อมูล: http://www.blogger.com/post-create.g?blogID=4160638037572533358


http://www.hatyaiservice.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538714384



จัดทำโดย : นางสาวกาญจนา จอมศรี เลขที่ 1 พณ 2/12


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น