วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554

พระนามเต็มของทั้ง 9 รัฐกาล

รัชกาลที่ 1
พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศร ตรีภูวเนตรวรนารถนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวศรัยสมุทัยดโรมนต์ สกลจักรวาฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทรปรมาธิเบศร โลกเชฎวิสุทธิ์ รัตนมงกุฎประกาศ คตามหาพุทธางกูรบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ 2
พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวศรัย สมุทัยดโรมนต์ สากลจักรวาฬาธิเบนทร สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทราธาดาธิบดี ศรีวิบูลยคุณอกนิษฐ ฤทธิราเมศวรมหันตอกนิษฐ ฤทธิราเมศวรมหันต บรมธรรมิกราชาธิราชเดโชชัย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมิทรปรมาธิเบศโลกเชษฐวิสุทธิ รัตนมกุฎประกาศ คตามหาพุทธางกูรบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ 3
พระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสรฐ มหาเจษฎาบดินทร์ สยามินทรวิโรดม บรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ 4
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎสุทธิ สมมุติเทพยพงศวงศาดิศรกษัตริย์ วรขัตติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธิเคราะหณี จักรีบรมนาถ อดิศวราชรามวรังกูร สุจริตมูลสุสาธิตอุกฤษฐวิบูลย บุรพาดูลยกฤษฎาภินิหารสุภาธิการรังสฤษดิ ธัญญลักษณ วิจิตรโสภาคสรรพางค์ มหาชโนตมางคประณตบาทบงกชยุคคล ประสิทธิสรรพสุภผลอุดม บรมสุขุมาลยมหาบุรุษยรัตน ศึกษาพิพัฒนสรรพโกศล สุวิสุทธิวิมลศุภศีลสมาจารย์ เพ็ชรญาณประภาไพโรจน์ อเนกโกฎิสาธุ คุณวิบุลยสันดาน ทิพยเทพวตารไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์เอกอัครมหาบุรุษสุตพุทธมหากระวี ตรีปิฎกาทิโกศล วิมลปรีชามหาอุดมบัณฑิต สุนทรวิจิตรปฏิภาณ บริบูรณ์คุณสาร สัสยามาทิโลกยดิลกสาร สัสยามาทิโลกยดิลก มหาปริวารนายกอนันต์ มหันตวรฤทธิเดชอนันต์ มหันตวรฤทธิเดช สรรพพิเศษ สิรินธรมหาชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฎลเศวตฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเศกาภิษิต สรรพทศทิศวิชิตวิไชย สกลมไหศวรินมหาสยามินทร มเหศวรมหินทร มหาราชาวโรดมบรมนารถชาติอาชาวศรัย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ อุกฤษฐศักดิอัครนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการสกลไพศาลมหารัษฎาธิเบนทร ปรเมนทรธรรมมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบรมบพิตร พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ 5
พระบามสมเด็จพระปรมิทรมหาจุฬสลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามงกุฎ บุรุษรัตนราชรวิวงศ์ วรุฒมพงษ์บรพัตร วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาตสังสุทธเคราะหณีจักรีบรมนาถ อดิศวรราชรามวรังกูร สุภาธิการรังสฤษฏ์ ธัญลักษณวิจิตโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประณตบาทบงกชยุคล ประสิทธิสรรพศุภ ผลอุดมบรมสุขุมมาลย์ ทิพยเทพาวตารไพศาลเกียรติคุณอดุลยวิเศษ สรพรรพเทเวศรานุรักษ์ วิสิษฐศักดิ์สมญาพินิตประชานาถเปรมกระมลขัติยราชประยูร มูลมุขราชดิลก มหาปริวารนายกอนันต์มหันตวรฤทธิเดช สรรวิเศษสิรินทร อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิ์วรยศ มโหดมบรมราชสมบัติ นพปฎลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเษกกาภิสิต สรรพทศทิศวิชิตไชย สกลมไหสวริยมหาสวามินทร์ มเหศวรมหินทรามหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติ อาชาวศรัย พุทธาธิไตยรัตนสรณารักษ์ อดุลยศักดิ์อรรคนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการสกลไพศาล มหารัษฎาธิบดินทร์ ปรมินทรธรรมิกหาราชาธิราช บรมนาถบพิตรพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


รัชกาลที่ 6
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาวชิรวุธ เอกอรรคมหาบุรุษบรมนราธิราช พินิตประชานาถมหาสมมตวงศ์ อดิศัยพงศ์วิมลรัตน์วรขัตติราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาตสังสุทธเคราะหณีจักรีบรมนาถ จุฬาลงกรณราชวรางกูร บรมมกุฏนเรนทร์สูรสันตติวงศ์วิสิฐ สุสาธิตบุรพาธิการ อดุลยกฤษฎาภินิหาร อดิเรกบุญฤทธิ ธัญลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพวงค์ มหาชโนตมางตประณตบาทบงกชยุคล ประสิทธิสรรพศุภผลอุดม บรมสุขุมาลย์ทิพยเทพาวตาร ไพศาลเกียรติคุณ อดุลยวิเศษสรรพเทเวศรานุรักษ์ บริมศักดิสมญาเทพวาราวดี ศรีมหาบุรุษสุดสมบัติ เสนางคนิกรรัตนอัศวโกศลประพนธปรีชา มัทวสมาจาร บริบูรณคุณสารสยามาทินค รวรุตเมกราชดิลก มหาปริวารนายอนันต์มหันตวรฤทธิเดช สรรพวิเศษศิรินธรบรมชนกาดิศรสมมต ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฎลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเษฏาภิสิต สรรพทศทิศวิชิตไชย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร์ มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวศรัยพุทธาธิไตรรัตนสรณารักษ์อดุลยศักดิ์ อรรคนเรศราธิบดี เมตตากรุณา สีตลหฤทัย อโนมัยบุญการสกลไพศาล มหารัษฎาธิบดินทร์ ปรเมนทรธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ 7
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก มหันตเดชนดิลกรามาธิบดี เทพยปรียามหาราชรวิวงศ์ อสัมภินพงศพีระกษัตรบุรุษรัตนราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาตสังสุทธเคราะหณี จักรีบรมนาถจุฬาลงกรณราชวรางกูร มหมกุฏวงศวีรสูรชิษฐ ราชธรรมทศพิธ อุต์กฤษฎานิบุณย์อดุลยฤษฎาภินิหาร บูรพาธิการสุสาธิต ธันยลักษณ์วิจิตรเสาวภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคมานทสนธิมตสมันตสมาคม บรมราชสมภาร ทิพยเทพวตารไพศาลเกียรติคุณ อดุลยศักดิเดช สรรพเทเวศปริยานุรักษ์ มงคลลคนเนมาหวัยสุโขทัยธรรมราชา อภิเนาวศิลปศึกษาเดชาวุธ วิชัยยุทธศาสตร์โกศล วิมลนรรยพินิต สุจริตสมาจาร ภัทรภิชญาณประดิภานสุนทรประวรศาสโนปสุดมภก มูลมุขมาตยวรนายกมหาเสนานี สราชนาวีพยูหโยธโพยมจร บรมเชษฏโสทรสมมต เอกราชยยศสธิคมบรมราชสมบัติ นพปฏลเศวตฉัตราดิฉัตร ศรีรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเษกาภิศิกต์ สรรพทศทิศวิชิตเดโชไชย สกลมไหศวรยมหาสยามินทรมเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาตอาชาวศรัย พุทธาธิไตรรัตนวิศิษฎศักดิ์อัครนเรศวราธิบดี เมตตากรุณาศีตลหฤทัย อโนปไมยบุณยการ สกลไพศาลมหารัษฏราธิบดินทร์ ประมินทรธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ 8
พระบาทสมเด็จพระปรเมนมหา อานันทมหิดลสกลไพศาลมหารัษฎาธิบดี พระอัฐมรามาธิบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร(ต่อมาเมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๙ ทรงได้รับการสถาปนาพระบรมอัฐิ เฉลิมพระนามเป็น พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลอดุลยเดช วิมลรามาธิบดี จุฬาลงกรณราชปรียวรนัดดา มหิตลานเรศวรางกูร ไอศูรยสันตติวงศวิสุทธ์ วรุตมขัตติยศักตอรรคอุดมจักรีบรมราชวงศนิวิฐ ทศพิธราชธรรมอุกฤษฎนิบุณ อดุลยกฤษฎาภินิการรังสฤษฎ์ สุสาธิตบูรพาธิการ ไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์อดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ ธัญอรรคลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมงคประณตบาทบงกชยุคล อเนกนิกรชนสโมสรสมมต ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฎลเศวตฉัตราดิฉัตร สรรพรัฐทศทิศวิชิตไชย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวไศรย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ วิศิษฎศักตอัครนเรศรามาธิบดี พระอัฐมราะบดินทร สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตร

รัชกาลที่ 9
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิรา บรมนาถบพิตร

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

โครงการ พัฒนาสื่อการเรียนการสอนระบบ E-Learning รายวิชาระบบปฏิบัติการ

บทที่ 1

ภูมิหลัง

ในปัจจุบันการศึกษาเรียนรู้เป็นสิ่งที่ทุกคนไม่ว่าจะเป็นนักเรียนนักศึกษาตลอดจนประชาชนทั่วไป ทุกคนต่างต้องการศึกษาเรียนรู้ ซึ่งการเรียนรู้จะดำเนินไปได้ด้วยดีจำเป็นต้องพึ่งพาสื่อหรือนวัตกรรมต่างๆ ที่ทันสมัยและให้ความรู้ได้ครอบคลุมกับสิ่งที่ต้องการศึกษาและเรียนรู้ ซึ่งจะพึ่งพาแต่หนังสืออย่างเดียวก็อาจเป็นการตีกรอบการศึกษาของนักเรียนนักศึกษา และผู้สนใจให้ได้รับความรู้ที่ทันสมัยน้องลง

การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนระบบ E-Learning รายวิชาระบบปฏิบัติการ ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อเป็นการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อให้ครอบคลุมยิ่งขึ้นไปกว่าการเรียนการสอนในหนังสืออย่างเดียว การเรียนการสอนในหนังสือนี้ ทำให้คณะผู้จัดทำเองรู้สึกว่าบางครั้งเกิดปัญหายุ่งยากมากมาย เช่น หนังสือไม่พอต่อผู้เรียน หนังสือขาดคุณภาพ หนังสือไม่ทันสมัย ข้อมูลขาดความเป็นปัจจุบัน เป็นต้น จึงได้จัดทำสื่อการเรียนการสอนระบบ E-Learning รายวิชาระบบปฏิบัติการ เพื่อนำเอาข้อมูลที่เป็นปัจจุบันมาใช้ในการเรียนการสอนและนำเอาข้อมูลที่สำคัญๆ ของรายวิชาระบบปฏิบัติการเดิมที่มีอยู่แล้วมาประยุกต์เข้ากัน ให้นักเรียนนักศึกษาได้ทันต่อข้อมูลในยุคนั้นๆ และอีกประการในการจัดทำโครงการครั้งนี้เป็นการประยุกต์ เข้าร่วมกับวิชาเรียนที่คณะผู้จัดทำเองได้ศึกษามาก่อนหน้านี้นั้นก็คือวิชาระบบปฏิบัติการเว็บเพจ ซึ่งนอกจากนักเรียนนักศึกษาได้นับความรู้จากโครงการนี้ คณะผู้จัดทำยังได้ความรู้จากการจัดทำโครงการครั้งนี้ด้วย

คณะผู้จัดทำ พัฒนาสื่อการเรียนการสอนระบบ E-Learning รายวิชาระบบปฏิบัติการ ครั้งนี้เพื่อต้องการให้นักเรียนนักศึกษาและผู้สนใจ ได้รับข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน และเป็นสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัยกว่าหนังสือเรียนเดิม อีกทั้งยังสอดแทรกคำถามที่สร้างสรรค์ และเพิ่มจิตนาการ ให้นักเรียนนักศึกษาและผู้สนใจได้รับประโยชน์สูงสุด

จุดมุ่งหมาย

1.เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนการสอนระบบ E-Learning รายวิชาระบบปฏิบัติการ

2.เพื่อเพิ่มช่งทางในการศึกษาค้นคว้านอกหนังสือเรียน

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า

1.สร้างเว็บเพจรายวิชาระบบปฏิบัติการ

2.ระบบ E-Learning จำเป็นต้องมีองค์ประกอบดังนี้

2.1.ส่วนแสดงผลกับผู้ใช้งาน

2.2.มีเนื้อหาเกี่ยวกับบทเรียนทั้งหมด บท

2.3.ผู้สนใจสามารถเข้ามาศึกษาเรียนรู้โดยไม่ต้องเป็นสมาชิก

2.4.มีบททดสอบการเรียนรู้ทั้งก่นและหลังเรียน

2.5.มีกระดานเกล็ดความรู้ต่างๆ

2.6.มีแบบสำรวจความคิดเห็น

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.นักเรียนนักศึกษาและผู้สนใจมีความสะดวกสบายและง่ายต่อการเรียนรู้ยิ่งขึ้น

2.มีนวัตกรรมสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัยและข้อมูลเป็นปัจจุบันเพ่มขึ้น

3.มีผู้เข้าชมเว็บ E-Learning

อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงาน

1.ฮาร์ดแวร์

1.1.Notebook ยี่ห้อ ACER 2 เครื่อง

1.2.เครื่อง PC 2 เครื่อง

1.3.เครื่อง Printer

1.4.กระดาษ A4

1.5.แฟรชไดร์

2.ซอฟต์แวร์

2.1.Macromedia Dreamweaver 8 สำหรับใช้ในการจัดทำเว็บเพจ

2.2.Adobe Photoshop ใช้สำหรับตกแต่งและแก้ไขรูปภาพ

2.3.Microsoft Word ใช้สำรับพมพ์ข้อมูล เอกสาร

2.4.Microsoft PowerPoint ใช้สำหรับนำเสนอข้อมูลเอกสาร

2.5.ภาษา html. ใช้ในการเขียนเว็บ

2.6.Internet Explorer สำหรับการแสดงผลการเขียนเบ็บและในการค้นหาข้อมูล

วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การใช้งาน Timer ใน visual studio 2008

การเรียกใช้ นาฬิกา (Timer)
ถ้าต้องการใช้งานเกี่ยวกับเวลา จะต้องเรียกใช้คอนโทรล Timer เช่น ถ้าต้องการให้มีวันและเวลาปัจจุบันของ

เครื่องมาแสดงที่ Status bar แบบ Real Time มีขั้นตอนดังนี ้
1. นาฬิกา Timer มาวางที่ฟอร์ม ในชื่อนี ้จะแสดงด้านล่างชื่อว่า Timer1



รูปที่ 1 วาง Timer ไว้ที่ฟอร์ม
2 จากนั้นไปกำหนด Properties ชื่อ Enabled ให้เป็น True เพื่อให้ Timer ทำงานได้


รูปที่ 2 กำหนด Properties ของ Timer
3 ใส่โค้ดที่ event ชื่อ Tick ของ Timer โดยการดับเบิลคลิกที่ Timer1 แล้วก าหนดโค้ดดังนี้

รูปที่ 3 กำหนดโค้ดลงของ Timer ใน Event Tick
- คำสั่ง DateTime.Now คือ จะแสดงวันที่และเวลา
- คำสั่ง DateTime.Now .Minute คือ จะแสดงนาที
- คำสั่ง DateTime.Now .Second คือ จะแสดงวินาที
- คำสั่ง DateTime.Now .Millisecond คือ จะแสดง 1/1000 วินาที
- คำสั่ง DateTime.Now .Month คือ จะแสดงเดือน
- คำสั่ง DateTime.Today คือ จะแสดงวันที่




จัดทำโดย : นางสาวกาญจนา จอมศรี เลขที่ 1
นางสาวจีรวรรณ ชัยศรี เลขที่ 7
นางสาวธนาภรณ์ เเก่นนาคำ เลขที่ 11

วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

มงคล 38 ที่มีความเกี่ยวข้องกับ นักวิเคราะห์ระบบ



1. การคบบัญฑิต



บัณฑิต หมายถึงผู้ทรงความรู้ มีปัญญา มีจิตใจที่งาม และมีการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง รู้ดีรู้ชั่ว (ไม่ใช่คนที่จบปริญญาโดยนัย) มีลักษณะดังนี้คือ



๑. เป็นคนคิดดี คือการไม่คิดละโมบ ไม่พยาบาทปองร้ายใคร รู้จักให้อภัย เชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ ความกตัญญูรู้คุณเป็นต้น
๒. เป็นคนพูดดี คือวจีสุจริต พูดจริง ทำจริงไม่โกหก ไม่พูดหยาบ ถากถาง นินทาว่าร้าย
๓. เป็นคนทำดี คือทำอาชีพสุจริต มีเมตตา ทำทานเป็นปกตินิสัย อยู่ในศีลธรรม ทำสมาธิภาวนา


รูปแบบของบัณฑิต มีข้อควรสังเกตุคือ
๑. ชอบชักนำในทางที่ถูกที่ควร อาทิเช่นการชักนำให้เลิกทำในสิ่งที่ผิด ตักเตือนให้ทำความดีอย่างเช่น ให้เลิกเล่นการพนันเป็นต้น
๒. ชอบทำในสิ่งที่เป็นธุระ อาทิเช่นการทำหน้าที่ของตนให้ลุล่วง และใช้เวลาที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ ไม่ก้าวก่ายเรื่องของผู้อื่นเว้นแต่จะได้รับการร้องขอ
๓. ชอบทำและแนะนำสิ่งที่ถูกที่ควร อาทิเช่นการพูดและทำอย่างตรงไปตรงมา แนะนำการทำทานที่ถูกต้อง ทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อคนอื่น
๔. รับฟังดี ไม่โกรธ อาทิเช่นเมื่อมีคนมาว่ากล่าวก็ไม่ถือโทษ หรือโกรธ หรือทำอวดดี แต่จะรับฟังแล้วนำไปพิจารณาโดยยุติธรรม แล้วนำมาแก้ไขปรับปรุง
๕. รู้ระเบียบ กฏกติกามรรยาทที่ดี อาทิเช่นการรักษาระเบียบวินัยขององค์กร เพื่อให้หมู่คณะมีความเป็นระเบียบ และการดำเนินงานไม่สับสน หรือการรักษาความสะอาด ปฏิบัติ และเคารพกฏของสถานที่ ไม่ทำตามอำเภอใจ



2. การบูชาบุคคลที่ควรบูชา



การบูชา คือการแสดงความเคารพบุคคลที่เรานับถือ ยกย่อง เลื่อมใสในบุคคลคนนั้น ซึ่งการบูชาแบ่งออกเป็น ๒ อย่างคือ



๑. อามิสบูชา คือการบูชาด้วยสิ่งของเช่น การนำเงินให้พ่อแม่ไว้ใช้จ่าย หรือมอบทรัพย์สินให้พ่อแม่ หรือการนำดอกไม้ ธูปเทียนไปบูชาพระก็ถือเป็นอามิสบูชาเป้นต้น
๒.ปฏิบัติบูชา คือการบูชาด้วยการเจริญสมาธิภาวนา การฝึกจิตให้ไม่ฟุ้งซ่าน เห็นความจริงในความเป็นไปของโลกเป็นต้น


บุคคลที่ควรบูชา มีดังนี้คือ
๑.พระพุทธเจ้า (คงไม่ต้องอธิบาย)
๒.พระปัจเจกพระพุทธเจ้า หมายถึงพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา
๓.พระมหากษัตริย์ผู้ตั้งอยู่ในทศพิศราชธรรม
๔.บิดามารดา
๕.ครูอาจารย์ ที่มีความรู้ดี มีความสามารถ และประพฤติดี
๖.อุปัชฌาย์ หรือผู้บังคับบัญชาที่มีความประพฤติดี ตั้งอยู่ในธรรม



3. การอยู่ในถิ่นอันสมควร



ถิ่นอันสมควรควรประกอบด้วยสิ่งแวดล้อม ๔ อย่างได้แก่
๑.อาวาสเป็นที่สบาย หมายถึงอยู่แล้วสบาย เช่นสะอาด เดินทางไปมาสะดวก อากาศดี เป็นแหล่งชุมชน ไม่มีแหล่งอบายมุขเป็นต้น
๒.อาหารเป็นที่สบาย หมายถึงอาหารการกินอุดมสมบูรณ์ เช่นมีแหล่งอาหารที่สามารถจัดซื้อหามาได้ง่าย เป็นต้น
๓.บุคคลเป็นที่สบาย หมายถึงที่ที่มีคนดี จิตใจโอบอ้อมอารี ถ้อยทีถ้อยอาศัย มีศีลธรรม ไม่มีโจร นักเลง หรือใกล้แหล่งอิทธิพลเป็นต้น
๔.ธรรมะเป็นที่สบาย หมายถึงมีที่พึ่งด้านธรรมะ มีที่ฟังธรรมเช่น มีวัดอยู่ในละแวกนั้น มีโรงเรียน หรือแหล่งศึกษาหาความรู้เป็นต้น


4. การตั้งตนชอบ


หมายถึงการดำเนินชีวิตอย่างมีเป้าหมาย ด้วยความถูกต้องและสุจริต อยู่ในสัมมาอาชีพ มีแผนการที่จะไปให้ถึงจุดหมายนั้นด้วยความไม่ประมาท มีการเตรียมพร้อม และมีความอดทนไม่ละทิ้งกลางคัน


5.มีความเป็นพหูสูต


คือเป็นผู้ที่ฟังมาก เล่าเรียนมาก เป็นผู้รอบรู้ โดยมีลักษณะดังนี้คือ
๑.รู้ลึก คือการรู้ในสิ่งนั้นๆ เรื่องนั้นๆอย่างหมดจดทุกแง่ทุกมุม อย่างมีเหตุมีผล รู้ถึงสาเหตุจนเรียกว่าความชำนาญ
๒.รู้รอบ คือการรู้จักช่างสังเกตในสิ่งต่างๆ รอบตัว เช่นเหตุการณ์แวดล้อมเป็นต้น
๓.รู้กว้าง คือการรู้ในสิ่งใกล้เคียงกับเรื่องนั้นๆ ที่เกี่ยวข้องกัน สัมพันธ์กันเป็นต้น
๔.รู้ไกล คือการศึกษาถึงความเป็นไปได้ ผลในอนาคตเป็นต้น


ถ้าอยากจะเป็นพหูสูตก็ควรต้องมีคุณสมบัติดังว่านี้คือ
๑.ความตั้งใจฟัง ก็คือชอบฟัง ชอบอ่านหาความรู้ และค้นคว้าเป็นต้น
๒.ความตั้งใจจำ ก็คือรู้จักวิธีจำ โดยตั้งใจอ่านหรือฟังในสิ่งนั้นๆ และจับใจความให้ได้
๓.ความตั้งใจท่อง ก็คือท่องให้รู้โดยอัตโนมัติ ไม่ลืม ในสิ่งที่เป็นสาระสำคัญ
๔.ความตั้งใจพิจารณา ก็คือการรู้จักพิจารณา ตรึกตรองในสิ่งนั้นๆอย่างทะลุปรุโปร่ง
๕.ความเข้าใจในปัญหา ก็คือการรู้อย่างแจ่มแจ้งในปัญหาอย่างถ่องแท้ด้วยปัญญา


6. การรอบรู้ในศิลปะ


ศิลปะ คือสิ่งที่แสดงออกถึงความงดงาม และมีความสุนทรีย์ โดยลักษณะของมันมีดังนี้คือ
๑.มีความปราณีต
๒.ทำให้ของดูมีค่ามากขึ้น
๓.ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
๔.ไม่ทำให้เกิดกามกำเริบ
๕.ไม่ทำให้เกิดความพยาบาท
๖.ไม่ทำให้เกิดความเบียดเบียน


ถ้าท่านอยากเป็นคนมีศิลปะ ควรต้องฝึกให้มีคุณสมบัติเหล่านี้ไว้ในตัวคือ
๑.มีศรัทธาในความงดงามของสิ่งต่างๆ
๒.หมั่นสังเกตและพิจารณา
๓.มีความปราณีต อารมณ์ละเอียดอ่อน
๔.เป็นคนสุขุม มีความคิดสร้างสรรค์


7. มีวินัยที่ดี


วินัย ก็คือข้อกำหนด ข้อบังคับ กฏเกณฑ์เพื่อควบคุมให้มีความเป็นระเบียบนั่นเอง มีทั้งวินัยของสงฆ์และของคนทั่วไป สำหรับของสงฆ์นั้นมีทั้งหมด ๗ อย่างหรือเรียกว่า อนาคาริยวินัย ส่วนของบุคคลทั่วไปก็มี ๑๐ อย่าง คือการละเว้นจากอกุศลกรรม ๑๐ ประการ
อนาคาริยวินัยของพระมีดังนี้
๑.ปาฏิโมกขสังวร คือการอยู่ในศีลทั้งหมด ๒๒๗ ข้อ การผิดศีลข้อใดข้อหนึ่งก็ถือว่าต้องโทษแล้วแต่ความหนักเบา เรียงลำดับกันไปตั้งแต่ ขั้นปาราชิก สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต เป็นต้น (ความหมายของแต่ละคำมันต้องอธิบายเยอะ จะไม่กล่าวในที่นี้)
๒.อินทรียสังวร คือการสำรวมอายตนะทั้ง ๕ และกาย วาจา ใจ ให้อยู่กับร่องกับรอย โดยอย่าไปเพลิดเพลินติดกับสิ่งที่มาสัมผัสเหล่านั้น
๓.อาชีวปาริสุทธิสังวร คือการหาเลี้ยงชีพในทางที่ชอบ นั่นก็คือการออกบิณฑบาตร ไม่ได้เรียกร้อง เรี่ยไรหรือเที่ยวขอเงินชาวบ้านมาเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของตัวเอง
๔.ปัจจยปัจจเวกขณะ คือการพิจารณาในสิ่งของทั้งหลายถึงคุณประโยชน์โดยเนื้อแท้ของสิ่งของเหล่านั้นอย่างแท้จริง โดยใช้เพื่อบริโภค เพื่อประโยชน์ ความอยู่รอด และความเป็นไปของชีวิตเท่านั้น


วินัยสำหรับฆราวาส หรือบุคคลทั่วไป เรียกว่าอาคาริยวินัย มีดังนี้ (อกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ)
๑.ไม่ฆ่าชีวิตคน หรือสัตว์ไม่ว่าน้อย ใหญ่
๒.ไม่ลักทรัพย์ ยักยอกเงิน สิ่งของมาเป็นของตัว
๓.ไม่ประพฤติผิดในกาม ผิดลูกผิดเมีย ข่มขืนกระทำชำเรา
๔.ไม่พูดโกหก หลอกลวงให้หลงเชื่อ หรือชวนเชื่อ
๕.ไม่พูดส่อเสียด นินทาว่าร้าย ยุยงให้คนแตกแยกกัน
๖.ไม่พูดจาหยาบคาย ให้เป็นที่แสลงหูคนอื่น
๗.ไม่พูดจาไร้สาระ หรือที่เรียกว่าพูดจาเพ้อเจ้อไม่มีสาระ เหตุผล หรือประโยชน์อันใด
๘.ไม่โลภอยากได้ของเขา คือมีความคิดอยากเอาของคนอื่นมาเป็นของเรา
๙.ไม่คิดร้าย ผูกใจเจ็บ แค้น ปองร้ายคนอื่น
๑๐.ไม่เห็นผิดเป็นชอบ เช่น เห็นว่าพ่อแม่ไม่มีความสำคัญ บุญหรือกรรมไม่มีจริงเป็นต้น



8.การทำงานไม่ให้คั่งค้าง


ว่าด้วยสาเหตุที่ทำให้งานคั่งค้างนั้นสรุปสาเหตุได้เพราะว่า
๑.ทำงานไม่ถูกกาล
๒.ทำงานไม่ถูกวิธี
๓.ไม่ยอมทำงาน
หลักการทำงานให้เสร็จลุล่วงมีดังนี้
๑.ฉันทะ คือมีความพอใจในงานที่ทำ
๒.วิริยะ คือมีความตั้งใจ พากเพียรในงานที่ทำ
๓.จิตตะ คือมีความเอาใจใส่ในงานที่ทำ
๔.วิมังสา คือมีการคิดพิจารณาทบทวนงานนั้นๆ



9.ทำงานที่ไม่มีโทษ


งานที่ไม่มีโทษ ประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้
๑.ไม่ผิดกฏหมาย คือทำให้ถูกต้องตามกฏหมายของบ้านเมือง
๒.ไม่ผิดประเพณี คือแบบแผนที่ปฏิบัติกันมาแต่เดิม ควรดำเนินตาม
๓.ไม่ผิดศีล คือข้อห้ามที่บัญญัติไว้ในศีล ๕
๔.ไม่ผิดธรรม คือหลักธรรมทั้งหลายอาทิเช่น การพนัน การหลอกลวง


ส่วนอาชีพต้องห้ามสำหรับพุทธศาสนิกชนได้แก่
๑.การค้าอาวุธ
๒.การค้ามนุษย์
๓.การค้ายาพิษ
๔.การค้ายาเสพย์ติด
๕.การค้าสัตว์เพื่อนำไปฆ่า


10.สำรวมจากการดื่มน้ำเมา


ว่าด้วยเรื่องของน้ำเมานั้น อาจทำมาจากแป้ง ข้าวสุก การปรุงโดยผสมเชื้อ หรืออะไรก็แล้วแต่ที่ดื่มแล้วทำให้มึนเมา เช่นเบียร์ ไวน์ ไม่ใช่แค่เหล้าเท่านั้น ล้วนมีโทษอันได้แก่
๑.ทำให้เสียทรัพย์ เพราะต้องนำเงินไปซื้อหาทั้งๆที่เงินจำนวนเดียวกันนี้สามารถนำเอาไปใช้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างอื่นได้มากกว่า
๒.ทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท ซึ่งนำไปสู่ความวุ่นวาย เจ็บตัว หรือถึงแก่ชีวิต และคดีความ เพราะน้ำเมาทำให้ขาดการยับยั้งชั่งใจ
๓.ทำให้เกิดโรค โรคที่เกิดเนื่องมาจากการดื่มสุราล้วนแล้วแต่บั่นทอนสุขภาพกายจนถึงตายได้เช่น โรคตับแข็ง โรคหัวใจ โรคความดัน
๔.ทำให้เสียชื่อเสียง เมื่อคนเมาไปทำเรื่องไม่ดีเข้าเช่นไปลวนลามสตรี ปล่อยตัวปล่อยใจ ก็ทำให้วงศ์ตระกูล และหน้าที่การงานเสี่อมเสีย
๕.ทำให้ลืมตัวไม่รู้จักอาย คนเมาทำสิ่งที่ไม่ควรทำ ทำสิ่งที่คนมีสติจะไม่ทำ เช่นแก้ผ้าเดิน หรือนอนในที่สาธารณะเป็นต้น
๖.ทอนกำลังปัญญา ทานแล้วทำให้เซลล์สมองเริ่มเสื่อมลง ก็จะทำให้สุขภาพและปัญญาเสื่อมถอย ความสามารถโดยรวมก็ด้อยลง


11.มีความถ่อมตน


ความอ่อนน้อมถ่อมตน คือ การไม่แสดงออกถึงความสามารถที่ตัวเองมีอยู่ให้ผู้อื่นทราบเพื่อข่มผู้อื่น หรือเพื่อโอ้อวด การไม่อวดดี เย่อหยิ่งจองหอง แต่แสดงตนอย่างสงบเสงี่ยม ท่านว่าไว้ว่าโทษของการอวดดีนั้นมีอยู่ดังนี้คือ
๑.ทำให้เสียคน คือไม่สามารถกลับมาอยู่ในร่องในรอยได้เหมือนเดิม เสียอนาคต
๒.ทำให้เสียมิตร คือไม่มีใครคบหาเป็นเพื่อนด้วย ถึงจะมีก็ไม่ใช่เพื่อนแท้
๓.ทำให้เสียหมู่คณะ คือถ้าต่างคนต่างถือดี ก็ทำให้ไม่สามารถตกลงกันได้ ในที่สุดก็ไม่ถึงจุดหมาย หรือทำให้เป็นที่เบื่อหน่ายของคนอื่น


การทำตัวให้เป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตนนั้นมีหลักดังนี้คือ
๑.ต้องคบกัลยาณมิตร คือเพื่อนที่ดีมีศีลมีธรรม คอยตักเตือนหรือชักนำไปในทางที่ดีที่ถูกที่ควร
๒.ต้องรู้จักคิดไตร่ตรอง คือการรู้จักคิดหาเหตุผลอยู่ตลอดถึงความเป็นไปในธรรมชาติของมนุษย์ ต่างคนย่อมต่างจิดต่างใจ และรวมทั้งหลักธรรมอื่นๆ
๓.ต้องมีความสามัคคี คือการมีความสามัคคีในหมู่คณะ อลุ่มอล่วยในหลักการ ตักเตือน รับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างมีเหตุผล


ท่านว่าลักษณะของคนถ่อมตนนั้นมีดังนี้
๑.มีกิริยาที่นอบน้อม
๒.มีวาจาที่อ่อนหวาน
๓.มีจิตใจที่อ่อนโยน
สรุปแล้วก็คือ สมบูรณ์พร้อมด้วยกาย วาจา และใจนั่นเอง



12.มีความกตัญญู


คือการรู้คุณ และตอบแทนท่านผู้นั้น บุญคุณที่ว่านี้มิใช่ว่าตอบแทนกันแล้วก็หายกัน แต่หมายถึงการรำลึกถึงพระคุณที่เคยให้ความอุปการะแก่เราด้วยความเคารพยิ่ง ท่านว่าสิ่งของหรือผู้ที่ควรกตัญญูนั้นมีดังนี้
๑.กตัญญูต่อบุคคล บุคคลที่ควรกตัญญูก็คือใครก็ตามที่มีบุญคุณควรระลึกถึงและตอบแทนพระคุณ เช่น บิดา มารดา อาจารย์เป็นต้น
๒.กตัญญูต่อสัตว์ ได้แก่สัตว์ที่มีคุณต่อเราช่วยทำงานให้เรา เราก็ควรเลี้ยงดูให้ดีเช่นช้าง ม้า วัว ควาย หรือสุนัขที่ช่วยเฝ้าบ้านเป็นต้น
๓.กตัญญูต่อสิ่งของ ได้แก่สิ่งของทุกอย่างที่มีคุณต่อเราเช่น หนังสือที่ให้ความรู้แก่เรา อุปกรณ์ทำมาหากินต่างๆ เราไม่ควรทิ้งคว้าง หรือทำลายโดยไม่เห็นคุณค่า


13.มีความอดทน


ท่านว่าลักษณะของความอดทนนั้นสามารถจำแนกออกได้เป็นดังต่อไปนี้คือ
๑.ความอดทนต่อความลำบาก คือความลำบากที่ต้องประสพตามธรรมชาติ ซึ่งอาจมาจากสภาพแวดล้อมเป็นต้น
๒.ความอดทนต่อทุกขเวทนา คือทุกข์ที่เกิดจากสังขารของเราเอง เช่นความไม่สบายกายเป็นต้น
๓.ความอดทนต่อความเจ็บใจ คือการที่คนอื่นทำให้เราต้องผิดหวัง หรือพูดจาให้เจ็บช้ำใจ ไม่เป็นอย่างที่หวังเป็นต้น
๔.ความอดทนต่ออำนาจกิเลส คือสิ่งยั่วยวนทั้งหลายถือเป็นกิเลสทั้งทางใจและทางกายอาทิเช่น ความนึกโลภอยากได้ของเขา หรือการพ่ายแพ้ต่ออำนาจเงินเป็นต้น


วิธีทำให้มีความอดทนคือ มีหิริโอตัปปะ
๑.หิริ ได้แก่การมีความละอายต่อบาป การที่รู้ว่าเป็นบาปแล้วยังทำอีกก็ถือว่าไม่มีความละอายเลย
๒.โอตัปปะ ได้แก่การมีความเกรงกลัวในผลของบาปนั้นๆ


14.เป็นผู้ว่าง่าย


ท่านว่าผู้ว่าง่ายนั้นมีลักษณะที่สังเกตได้ดังนี้คือ
๑.ไม่พูดกลบเกลื่อนเมื่อได้รับการว่ากล่าวตักเตือน คือการรับฟังด้วยดี ไม่ใช่แก้ตัวแล้วปิดประตูความคิดไม่รับฟัง
๒.ไม่นิ่งเฉยเมื่อได้รับการเตือน คือการนำคำตักเตือนนั้นมาพิจารณาและแก้ไขข้อบกพร่องนั้นๆ
๓.ไม่จับผิดผู้ว่ากล่าวสั่งสอน คือการที่ผู้สอนอาจจะมีความผิดพลาด เนื่องจากความประมาท เราควรให้อภัยต่อผู้สอน เพราะการจับผิดทำให้ผู้สอนต้องอับอายขายหน้าได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ดีงาม
๔.เคารพต่อคำสอนและผู้สอน คือการรู้จักสัมมาคารวะต่อผู้ทำให้คำสอน และเคารพในสิ่งที่ผู้สอนได้นำมาแนะนำ
๕.มีความอ่อนน้อมถ่อมตน คือไม่แสดงความยะโส ถือตัวว่าอยู่เหนือผู้อื่นเพราะสิ่งที่ตัวเองเป็นตัวเองมี
๖.มีความยินดีต่อคำสอนนั้น คือยอมรับในคำสอนนั้นๆ ด้วยความยินดีเช่นการไม่แสดงความเบื่อหน่ายเพราะเคยฟังมาแล้ว เป็นต้น
๗.ไม่ดื้อรั้น คือการไม่อวดดี คิดว่าของตัวเองนั้นผิดแต่ก็ยังดันทุรังทำต่อไปเพราะกลัวเสียชื่อ เสียฟอร์ม
๘.ไม่ข้ดแย้ง เพราะว่าการว่ากล่าวตักเตือนหรือสั่งสอนนั้นก็คือ สิ่งที่ตรงข้ามกับที่เราทำอยู่แล้ว เราควรต้องเปิดใจให้กว้างไม่ขัดแย้งต่อคำสอน คำวิจารณ์นั้นๆ
๙.ยินดีให้ตักเตือนได้ทุกเวลา คือการยินดีให้มีการแสดงความคิดเห็นตักเตือนได้โดยไม่มีข้อยกเว้นเรื่องเวลา
๑๐.มีความอดทนต่อการเป็นผู้ถูกสั่งสอน คือการไม่เอาความขัดแย้งในความเห็นเป็นอารมณ์ แต่ให้เข้าใจเจตนาที่แท้จริงของผู้สอนนั้น


การทำให้เป็นคนว่าง่ายนั้นทำได้ดังนี้
๑.ลดมานะของตัว คือการไม่ถือดี ไม่ถือตัว ความไม่สำคัญตัวเองว่าเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ อาทิเช่นถือตัวว่าการศึกษาดีกว่าเป็นต้น
๒.ละอุปาทาน คือการไม่ยึดถือในสิ่งที่เรามี เราเป็น หรือถือมั่นในอำนาจกิเลสต่างๆ
๓.มีสัมมาทิฏฐิ คือมีปัญญาที่เห็นชอบ การเห็นถูกเห็นควรตามหลักอริยสัจ ๔ เชื่อเรื่องความไม่เที่ยง เชื่อในเรื่องบุญเรื่องบาปเป็นต้น


15.การสนทนาธรรมตามกาล


การได้สนทนากันเรื่องธรรม ทำให้ขยายขอบเขตการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความรู้ และได้รู้ในสิ่งใหม่ๆ ที่เราอาจนึกไม่ถึง หรือเป็นการเผื่อแผ่ความรู้ที่เรามีให้แก่ผู้อื่นได้ทราบด้วย


ก่อนที่เราจะสนทนาธรรม ควรต้องพิจารณาและคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้คือ
๑.ต้องรู้เรื่องที่จะพูดดี
๒.ต้องพูดเรื่องจริง มีประโยชน์
๓.ต้องเป็นคำพูดที่ไพเราะ
๔.ต้องพูดด้วยความเมตตา
๕.ต้องพูดจาโอ้อวด ยกตนข่มท่าน


ข้อปฏิบัติเมื่อมีการสนทนาธรรม
๑.มีศีลธรรม คือการเป็นผู้ที่รักษาศีล ๕ หรือศีล ๘ เป็นนิจศีลอยู่แล้ว การเป็นผู้ปฏิบัติถือเป็นหน้าที่ขั้นต้นในการเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี
๒.มีสมาธิดี คือการมีจิตใจจดจ่ออยู่กับเรื่องที่สนทนา ไม่ว่อกแวก พร้อมทั้งเป็นผู้ที่หมั่นเจริญสมาธิภาวนาด้วย
๓.แต่งการสุภาพ คือการแต่งตัวให้เหมาะสมกับยุคสมัย อยู่ในกรอบประเพณีของสังคมแวดล้อม ณ ที่นั้นๆ ถูกกาลเทศะ
๔.มีกิริยาสุภาพ คือมีความสุภาพในท่วงท่าไม่ว่าจะเดิน นั่ง ยืน หรือการกระทำใดๆ การที่มีกิริยางดงาม สุภาพย่อมโน้มน้าวจิดใจผู้พบเห็นให้เกิดความประทับใจที่ดี
๕.ใช้วาจาสุภาพ คือการใช้ถ้อยคำที่สุภาพในการสนทนา ไม่ใช้คำหยาบคาย หรือก้าวร้าว
๖.ไม่กล่าวค้านพระพุทธพจน์ คือการไม่นำเอาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามาเป็นข้อสงสัย หรือกล่าวค้าน เพราะสิ่งที่กล่าวไว้ในพระพุทธพจน์ย่อมเป็นความจริงตลอดกาล
๗.ไม่ออกนอกประเด็นที่ตั้งไว้ คือการพูดให้อยู่ในหัวข้อที่ตั้งไว้ ไม่พูดแบบน้ำท่วมทุ่งผักบุ้งโหรงเหรง
๘.ไม่พูดนานจนน่าเบื่อ คือการเลือกเวลาที่เหมาะสมตามสถานการณ์ เนื่องจากเรื่องบางเรื่องอาจไม่จำเป็นต้องขยายความมากเกินไป


16.การเห็นอริยสัจ


อริยสัจ หมายถึงความจริงอันประเสริฐ หลักแห่งอริยสัจมีอยู่ ๔ ประการตามที่ท่านได้สั่งสอนไว้มีดังนี้
๑.ทุกข์ คือความไม่สบายกายไม่สบายใจ ความเป็นจริงของสัตว์โลกทุกผู้ทุกนามต้องมีทุกข์ ๓ ประการคือ การเกิด ความแก่ ความตาย นอกจากนี้ก็มีความทุกข์ที่เป็นอาการ หรือเกิดจากสภาพแวดล้อมสรุปได้ดังนี้คือ
-ความโศกเศร้า (โสกะ)
-ความรำพันด้วยความเสียใจ (ปริเทวะ)
-ความเจ็บไข้ได้ป่วย (ทุกขะ)
-ความเสียใจ (โทมนัสสะ)
-ความท้อแท้ สิ้นหวัง คับแค้นใจ (อุปายาสะ)
-การตรอมใจ ผิดหวังจากสิ่งที่ไม่รัก (อัปปิเยหิ สัมปโยคะ)
-การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก (ปิเยหิ วิปปโยคะ)
-ความหม่นหมองเมื่อปรารถนาแล้วไม่ได้สิ่งนั้น (ยัมปิจฉัง นลภติ)
๒.สมุทัย คือเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ นอกจากเหตุแห่งทุกข์ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ต้นตอของทุกข์ก็อยู่ที่ใจของเราด้วยนั่นก็คือความอยาก ท่านว่าเป็นตัณหา ๓ อย่าง ซึ่งแบ่งออกได้เป็นดังนี้คือ
-ความอยากได้ หมายรวมถึงอยากทุกอย่างที่นำมาสนองสัมผัสทั้ง ๕ และกามารมณ์ (กามตัณหา)
-ความอยากเป็น คือความอยากเป็นโน่นเป็นนี่ (ภวตัณหา)
-ความไม่อยากเป็น คือความไม่พอใจในสิ่งที่ตัวเองเป็นอยู่ (วิภวตัณหา)
๓.นิโรธ คือความดับทุกข์ ภาวะที่ตัณหาดับสิ้นไป ความหลุดพ้น หรือหมายถึงภาวะของพระนิพพานนั่นเอง
๔.มรรค คือข้อปฏิบัติ หรือหนทางที่นำไปสู่การดับทุกข์ การเดินทางสายกลางเพื่อไปให้ถึงการดับทุกข์ คือ มรรคมี ๘ ประการ คือ
-ความเห็นชอบ เช่นความศรัทธาในเบื้องต้นต่อหลักธรรม คำสอน เช่นการเชื่อว่ากรรมดีกรรมชั่วมีจริงเป็นต้น (สัมมาทิฏฐิ)
-ความดำริชอบ หรือความคิดชอบ มีความคิดที่ถูกต้องตามหลักธรรม เช่นการใช้ปัญญาพิจารณาความไม่เที่ยงของสังขาร หรือการไม่คิดอยากได้ของเขามาเป็นของเราเป็นต้น (สัมมาสังกัปปะ)
-เจรจาชอบ คือการปฏิบัติตามหลักธรรม ไม่พูดโกหก ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อเป็นต้น (สัมมาวาจา)
-ทำการชอบ หรือการมีการกระทำที่ไม่ผิดหลักศีลธรรม เช่นไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์เป็นต้น (สัมมากัมมันตะ)
-เลี้ยงชีพชอบ คือการทำมาหากินในทางที่ถูก ไม่เบียดเบียนหรือทำความเดือดร้อนให้กับสัตว์หรือผู้อื่น อยู่ในหลักธรรมที่กำหนด เช่น ไม่มีอาชีพค้ามนุษย์ หรืออาชีพค้าอาวุธเป็นต้น (สัมมาอาชีวะ)
-ความเพียรชอบ คือการหมั่นทำนุบำรุงในสิ่งที่ถูกต้อง อาทิเช่นการพยายามละกิเลสออกจากใจ หรือการพยายามสำรวม กาย วาจา ใจให้ดำเนินตามหลักธรรมของท่านเป็นต้น (สัมมาวายามะ)
-ความระลึกชอบ คือมีสติตั้งมั่นในสิ่งที่ถูกต้องตามหลักธรรม เช่นการพึงระลึกถึงความตายที่ต้องเกิดกับทุกคนเป็นต้น (สัมมาสติ)
-จิตตั้งมั่นชอบ คือมีจิตที่มีสมาธิ ไม่ว่อกแวกหรือคิดฟุ้งซ่าน และการทำสมาธิภาวนาตามหลักการที่ท่านได้บัญญัติแนะนำเอาไว้ (สัมมาสมาธิ)


พหูสูต

พหูสูต หมายถึง “ความเป็นผู้ฉลาดรู้” คือผู้ที่รู้จักเลือกในสิ่งที่ควรรู้ เป็นผู้ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมามาก ได้ยินได้ฟังมามาก และเป็นคนช่างสังเกต ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้เป็นต้นทางแห่งปัญญา ทำให้เกิดความรู้สำหรับบริหารงานชีวิตและเป็นกุญแจไขไปสู่ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข และทุกสิ่งที่ เราปรารถนา



ความแตกต่างระหว่างบัณฑิตและพหูสูต
บัณฑิต คือ ผู้มีคุณธรรมประจำใจ มีความประพฤติดีงาม ไม่ว่าจะมีความรู้มากหรือน้อยก็ตาม บัณฑิตจะใช้ความรู้นั้น ๆ สร้างประโยชน์แก่ตนเอง และผู้อื่นอย่างเต็มที่ เป็นผู้ที่สามารถเอาตัวรอดได้แน่นอน ไม่ตกไปสู่อบายภูมิเป็นอันขาด
พหูสูต คือ ผู้มีความรู้มาก แต่คุณธรรมความประพฤติยังไม่แน่ว่าจะดียังไม่แน่ว่าจะดี ยังไม่แน่ว่าจะเอาตัวรอดได้ ถ้าใช้ความรู้ที่มีอยู่ไปทำชั่ว เช่น เอาความรู้เคมีไปผลิตเฮโรอีน ก็อาจตกนรกได้



ลักษณะของพหูสูต คือ
๑. รู้ลึก หมายถึง รู้เรื่องราวไปหาเหตุในอดีต ลึกซึ้งถึงความเป็นมา เช่น แพทย์เมื่อเห็นอาการก็สามารถรู้ว่าเป็นโรคอะไรรู้ไปถึว่าที่เป็นโรคนี้เพราะเหตุใด หรือช่างเมื่องเห็นอาการเครื่องยนต์ที่เสียก็สามารถบอกได้ทันทีว่าเครื่องนั้นเสียที่ไหน เป็นเพราะอะไร เป็นต้น
๒. รู้รอบ หมายถึง ช่างสังเกต รู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว สภาพภูมิประเทศดินฟ้าอากาศ ผู้คนในชุมชน ความเป็นไปของเหตุการณ์ต่าง ๆ รอบตัว สภาพภูมิประเทศ ดินฟ้าอากาศ ผู้คนในชุมชน ความเป็นไปของเหตุการณ์ต่าง ๆ รอบตัว สิ่งที่ควรรู้ต้องรู้
๓. รู้กว้าง หมายถึง สิ่งรอบตัว แต่ละอย่างที่รู้ก็รู้อย่างละเอียดรู้ถึงความเกี่ยวพันของสิ่งนั้นกบสิ่งอื่น ๆ ด้วย คล้ายรู้รอบแต่เก็บรายละเอียดมากขึ้น
๔. รู้ไกล หมายถึง มองการณ์ไกล รู้ถึงผลที่จะตามมาในอนาคต เช่น เห็นสภาพดินฟ้าอากาศก็รู้ทันทีว่าปีนี้พืชผลชนิดใดจะขาดแคลน เห็นพฤติการณ์ ของผู้ร่วมงานไม่น่าไว้วางใจก็รู้ทันทีว่า เขากำลังจะคิดไม่ซื่อ เห็นตนเองเริ่มย่อหย่อนต่อการปฏิบัติธรรมก็รู้ทันทีว่าถ้าทิ้งไว้เช่นนี้ต่อไปตนก็จะเสื่อมจากกุศลธรรม ฯลฯ
ผู้ที่ประกอบด้วยความรู้ ๔ ประการนี้ ทั้งทางโลกและทางธรรมจึงจะเป็นพหูสูตที่แท้จริง



คุณสมบัติของพหูสูต หรือนักเรียน นักศึกษาที่ดี
๑.พหุสฺสุตา ความตั้งใจฟัง คือมีนิสัยชอบฟัง ชอบอ่าน ชอบค้นคว้า ยึดหลัก “เรียนจากครู ดูจากตำรับ สดับปาฐะ”
๒.ธตา ความตั้งใจจำ คือมีความจำดี รู้จักจับสาระสำคัญ จับหลักให้ได้ แล้วจำได้แม่นยำ คนที่ความจำไม่ดี เพราะภพในอดีตชอบพูดปด ดื่มสุรามาก ฯลฯ ดังนั้น ถ้าในชาตินี้เลิกดื่มสุรา เลิกพูดปดและพยายามบ่อย ๆ หมั่นจดหมั่นเขียนบ่อย ๆ ไม่ช้าก็จะเป็นผู้มีความจำดี
๓.วจสา ปริจิตา ความตั้งใจท่อง คือต้องฝึกท่องให้คล่องปากท่องจนขึ้นใจ จำได้คล่องแคล่วจัดเจน ไม่ต้องพลิกตำรา โดยเฉพาะพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นความจริงแท้แน่นอน ไม่เปลี่ยนแปลง ควรท่องไว้ให้ขึ้นใจทุกข้อกระทงความให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ส่วนวิชาการทางโลกยังมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ เพราะยังไม่มีใครรู้จริง จึงควรท่องเฉพาะที่สำคัญ และหมั่นคิดหาเหตุผลด้วย
๔.มนสานุเปกขา ความตั้งใจขบคิด คือใส่ใจนึกคิด ตรึกตรองสาวเหตุสาวผลให้เข้าใจตลอด พิจารณาให้เจนจบ นึกถึงครั้งใดก็เข้าใจปรุโปร่งหมด
๕.ทิฏฐิยา สุปฏิวิทฺธา ความแทงตลอดด้วยปัญญา คือเข้าใจแจ่มแจ้งทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ความรู้กับใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อย่างไรก็ตามตราบใดที่ยังไม่ได้ฝึกสมาธิอย่างจริงจังคุณสมบัติข้อนี้ จะเกิดไม่เต็มที่



ลักษณะผู้ที่เป็นพหูสูตไม่ได้
๑.คนราคจริต คือ คนขี้โอ่ บ้ายอ เจ้าแง่แสนงอน รักสวยรักงาม พิถีพิถันจนเกินเหตุ มัวแต่งอน มัวแต่แต่งตัวจนไม่มีเวลาท่องบ่น ค้นคว้าหาความรู้ พวกนี้แก้โดยให้หมั่นนึกถึงความตาย พิจารณาซากศพอสุภะเนือง ๆ
๒.คนโทสจริต คือ คนขี้โมโห ฉุนเฉียว โกรธง่าย ผูกพยาบาทมากมัวแต่คิดโกรธแค้นจนไม่มีเวลาไตร่ตอง พวกนี้แต้โดยให้หมั่นรักษาศีลและแผ่เมตตาเป็นประจำ
๓.คนโมหจริต คือ คนสะเพร่า ขี้ลืม มักง่าย ทำอะไรไม่พยายามเอาดีสักแต่ให้เสร็จ สติไม่มั่นคง ใจกระด้างในการกุศล สงสัยในพระรัตนตรัยว่ามีคุณจริงหรือไม่ พวกนี้แก้โดยให้หมั่นฝึกสมาธิอย่างสม่ำเสมอ
๔.คนขี้ขลาด คือ พวกขาดความเชื้อมั่นในตนเอง ไม่กล้าลงมือทำอะไร กลัวถูกติ คอยแต่จะเป็นผู้ตาม ไม่มีความคิดริเริ่ม พวกนี้แก้โดยให้คบกับคนมาตรฐาน คือ คบบัณฑิต จะอ่าน จะทำอะไรก็ให้จับให้ทำแต่สิ่งที่เป็นมาตรฐานไม่สักแต่ว่าทำ
๕.คนหนักในอามิส คือ พวกบ้าสมบัติ ตีค่าทรัพย์ว่ามากกว่าความรู้ทำให้ไม่ขวนขวายในการแสวงหาปัญญาเท่าที่ควร
๖.คนจับจด คือ พวกทำอะไรเหยาะแหยะไม่เอาจริง
๗.นักเลงสุรา คือพวกขี้เมา ขาดสติ หมดหนทางที่จะเรียนรู้
๘.คนที่มีนิสัยเหมือนเด็ก คือ พวกชอบเอิกเกริกสนุกเฮฮาจนเกินเหตุ ไม่มีความรับผิดชอบ



วิธีฝึกตนเองให้เป็นพหูสูต
๑. ฉลาดเลือกเรียนแต่สิ่งที่ควร
๒. ตั้งใจเรียนวิชาที่ตนเลือกอย่างเต็มความสามารถ
๓. มีความกระตือรือร้นที่จะศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ


๔.ควรจะมีความรู้ธรรมะ ควบคู่ด้วย
๔. เมื่อเรียนแล้วก็จำไว้เป็นอย่างดี พร้อมจะนำความรู้ที่ได้ไปใช้ได้ทันที



ข้อเตือนใจ
ถ้ามีความรู้ทางโลกอย่างเดียว ไม่ว่าตนเองจะเป็นคนฉลาดเพียงใดก็มีโอกาสพลาดพลั้งได้ เช่น มีความรู้เรื่องปรมาณู อาจนำไปใช้ในทางสันติเป็นแหล่งพลังงาน หรือนำไปสร้างระเบิดทำลายล้างชีวิตมนุษย์ก็ได้ เราจึงต้องศึกษาความรู้ทางธรรมไว้คอยกำกับความรู้ทางโลกด้วย ควารู้ทางธรรมะจะเป็นเสมือนดวงประทีปส่องให้เห็นว่า สิ่งที่กระทำนั้นถูกหรือผิด ควรหรือไม่ควร
ผู้ที่คิดแต่จะตักตวงความรู้ทางโลก แม้จะฉลาดร่ำรวยมีอำนวจสักปานใดก็ไม่น่ารัก ไม่น่าเคารพ ไม่น่ายำเกรง ไม่น่านับถือ ยังเป็นบุคคล ประเภทเอาตัวไม่รอด
โปรดจำไว้ว่า “ความรู้ที่เกิดแก่คนพาล ย่อมนำความฉิบหายมาให้ เพราะเขาจะนำความรู้ไปใช้ในทางที่ผิด ๆ” เราทุกคนจึงควรจะแสวงหาโอกาสศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรมและรู้ให้ลึกซึ้งเกินกว่า การงานที่ตนตับผิดชอบ ความรู้ที่เกินมานี้ จะเป็นเสมือนดวงประทีป ส่องให้เห็นทางเบื้องหน้าที่จะนำไปสู่ความสำเร็จได้โดยง่าย



อานิสงส์การเป็นพหูสูต
๑.ทำให้เป็นที่พึ่งของตนเองได้
๒.ทำให้ได้ความเป็นผู้นำ
๓.ทำให้แกล้วกล้าองอาจในทุกที่ทุกสถาน
๔.ทำให้บริบูรณ์ด้วยลาภ ยศ สรรเสริญ สุข
๕.ทำให้ได้รับคำชมเชย ได้รับความยกย่องเกรงใจ
๖.ไม่มีใครแย่งชิงได้ เป็นสหชาติปัญญาติดตัวข้ามภพข้ามชาติไป
๗.เป็นพื้นฐานของศิลปะ และความสามารถอื่น ๆ ต่อไป
๘.ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้โดยง่าย

นิทานเรื่อง เวตาล


ณ ฝั่งแม่น้ำโคทาวรี มีพระมหานครแห่งหนึ่งตั้งอยู่นามว่า ประดิษฐาน ที่เมืองนี้ในสมัยบรรพกาลมีพระราชาธิบดีองค์หนึ่ง ทรงนามว่า ตริวิกรมเสน ได้ครองราไชศวรรย์มาด้วยความผาสุก พระองค์เป็นราชโอรสของพระเจ้าวิกรมเสนผู้ทรงเดชานุภาพเทียมท้าววัชรินทร์


ต่อมาได้มีนักบวชชื่อ ศานติศีล ได้นำผลไม้มาถวายทุกวันมิได้ขาด ซึ่งพระราชาแปลกใจ และได้ไปพบในคืนหนึ่งตามนัด ได้ถามถึงเหตุผลและเพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณ โยคีศานติศีลจอมเจ้าเล่ห์ได้ขอให้พระราชาตริวิกรมเสนนำเวตาลมาให้ตนเพื่อจะประกอบมหายัญพิธี


พระราชาผู้มีสัจจะเป็นมั่น ได้ไปนำเวตาลมาให้โยคีเจ้าเล่ห์ แต่เวตาลก็พยายามหน่วงเหนี่ยวด้วยการเล่านิทานทั้งสิ้น ๒๔ เรื่องด้วยกัน ซึ่งแต่ละเรื่องจะมีคำถามให้พระราชาตอบ โดยมีข้อแม้ว่า หากพระราชาทราบคำตอบแล้วไม่ตอบ ศีรษะของพระราชาจะต้องหลุดจากบ่า และหากพระราชาเอ่ยปากพูดเวตาลก็จะกลับไปสู่ที่เดิม


และก็เป็นดังนั้นทุกครั้ง ที่พระราชาตอบคำถามของเวตาล เวตาลก็จะหายกลับไปสู่ต้นไม้ที่สิงที่เดิม พระราชาก็จะเสด็จกลับไปเอาตัวเวตาลทุกครั้งไป จนเรื่องสุดท้ายพระราชาไม่ทราบคำตอบ ก็ทรงเงียบไม่พูด เวตาลพอใจในตัวพระราชามาก เพราะเป็นพระราชาผู้ไม่ย่อท้อ ผู้มีความกล้าหาญ ทำให้เวตาลบอกความจริงในความคิดของโยคีเจ้าเล่ห์ ว่าโยคีนั้นแท้จริงแล้ว ต้องการตำแหน่งราชาแห่งวิทยาธร โดยจะเอาพระราชาเป็นเครื่องสังเวยในการทำพิธี และอธิบายถึงวิธีกำจัดโยคีเจ้าเล่ห์


เมื่อพระราชาเสด็จมาถึงโยคีตามที่นัดหมายไว้ ก็ปรากฎว่าโยคีได้เตรียมการทำอย่างที่เวตาลได้บอกกับพระราชาไว้ พระราชาจึงแก้โดยทำตามที่เวตาลได้อธิบายให้พระราชาฟัง พระราชาจึงได้ตำแหน่งราชาแห่งวิทยาธร และเวตาลได้บอกกับพระราชาตริวิกรมเสนว่า "ตำแหน่งนี้ได้มาเพราะความดีของพระองค์ ตำแหน่งนี้จะคอยพระองค์อยู่หลังจากที่ทรงเสวยสุขในโลกมนุษย์จนสิ้นอายุขัยแล้ว ข้าขอโทษในกาลที่แล้วมาในการที่ยั่วยวนประสาทพระองค์ แต่ก็ไม่ทรงถือโกรธต่อข้า บัดนี้ข้าจะถวายพรแก่พระองค์ ขอทรงเลือกอะไรก็ได้ตามใจปรารถนาเถิด" พระราชาก็ตรัสว่า "เพราะเหตุที่เจ้ายินดีต่อข้า และข้าก็ยินดีในความมีน้ำใจของเจ้าเช่นเดียวกัน พรอันใดที่ข้าจะปรารถนาก็เป็นอันสมบูรณ์แล้ว ข้าเพียงแต่อยากจะขออะไรสักอย่างเป็นที่ระลึกระหว่างข้ากับเจ้า นั่นก็คือนิทานที่เจ้ายกปัญหามาถามข้าถึงยี่สิบสี่เรื่อง และคำตอบของข้าก็ให้ไปแล้วเช่นเดียวกัน และครั้งที่ยี่สิบห้าคือวันนี้ถือเป็นบทสรุป แสดงอวสานของเรื่อง ขอให้นิทานชุดนี้จงมีเกียรติแพร่กำจายไปในโลกกว้าง


เวตาลก็สนองตอบว่า ขอจงสำเร็จ โอ ราชะ บัดนี้จงฟังเถิด ข้าจะกล่าวถึงคุณสมบัติที่ดีเด่นของนิทานชุดนี้ สร้อยนิทานอันร้อยรัดเข้าด้วยกันดังสร้อยมณีสายนี้ ประกอบด้วยยี่สิบสี่เรื่องเบื้องต้น แลมาถึงบทที่ยี่สิบห้า อันเป็นบทสรุปส่งท้าย นับเป็นปริโยสาน นิทานชุดนี้จงเป็นที่รู้จักกันในนามของเวตาลปัญจวิงศติ (นิทานยี่สิบห้าเรื่องของเวตาล) จงมีเกียรติยศบันลือไปในโลก และนำความเจริญมาสู่ผู้อ่านทุกคน ใครก็ตามที่อ่านหนังสือแม้แต่โศลกเดียว หรือเป็นผู้ฟังเขาอ่านก็เช่นเดียวกัน จักรอดจากคำสาปทั้งมวล บรรดาอมนุษย์ทั้งหลาย มียักษ์ เวตาล กุษมาณฑ์ แม่มด หมอผีและรากษส ตลอดจนสัตว์โลกประเภทเดียวกันนี้ จงสิ้นฤทธิ์เดชเมื่อได้ยินใครอ่านนิทาน อันศักดิ์สิทธิ์นี้

พระศิวะได้ฟังเรื่องของต่าง ๆ ของเวตาลจบก็กล่าวชื่นชมในองค์พระราชาตริวิเสนมาก ซึ่งพระศิวะได้สร้างจากอนุภาคโดยให้มาปราบอสูรคนร้ายต่าง ๆ เมื่อพระราชาตริวิกรมเสนได้เป็นจอมราชันแห่งวิทยาธรทั้งโลกและสวรรค์แล้ว ก็เกิดความเบื่อหน่าย หันไปบำเพ็ญทางธรรมจนบรรลุความหลุดพ้น



ข้อคิดที่ได้จากเรื่องคือ

หากมนุษย์รู้จักใช้ปัญญาคิดไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วยและรอบด้าน แม้ปัญหาจะยากเย็น
ซับซ้อน เพียงใดก็สามารถแก้ไขหรือทำความเข้าใจได้เสมอ
แต่การใช้ปัญญาเพียงอย่างเดียวมิอาจ แก้ปัญหาทุกสิ่งได้เสมอไป มนุษย์ต้องมีสติ
กำกับปัญญาของตนด้วย การใช้สติปัญญาควบคู่กันไป คือหลักสำคัญในการนำมนุษย์
ไปสู่ความสำเร็จ อีกทั้งคำพูดของมนุษย์มีความสำคัญยิ่ง
เพราะคำพูดเป็นสิ่งที่ต้องรักษาดังนั้นหากพูดออกมาโดยมิได้ใช้สติปัญญาไตรีตรอง
ให้รอบด้าน เสียก่อนก็จะนำหายนะหรือปัญหาซึ่งยากจะแก้ไขมาสู่ตนได้
และความกล้าหาญมุ่งมั่นและ ความเพียรเป็นคุณลักษณะที่น่าชื่นชม

วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2554

พนักงานวิเคาระห์ระบบ มีคุณธรรมที่เชื่อมโยงกับ กุศลกรรมเเละอกุศกรรมอย่างไร

กุศลกรรมบถ 10

ข้อที่ 1.เป็นกายกรรม มี 3 อย่าง คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม

1.ไม่ฆ่าสัตว์ คือ เป็นผู้ที่มีความรอบคอบ ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนถึงชีวิต ในการวอเคาระห์ระบบ
2.ไม่ลักทรัพย์ คือ เป็นผู้ที่รู้จักวิเคาระห์ ด้วยความรู้ของตัวเอง โดยตรง ไม่ ไปก๊อบใครเค้ามา
3.ไม่ประพฤติผิดในกาม คือ ไม่ ไปลงโปรมเเกรม หรือวีดีโอ อะไร ที่ทำให้ เสื่อมเสียไปยัง ผู้อื่น ซึ่งออกเเนว อนาจาร หรือไม่ไปสนับสนุน เกี่ยวกับ เรื่องอนาจาร

ข้อที่ 2 เป็นวจีกรรม มี 4 คือ ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ
4.ไม่พูดเท็จ คือ ไม่วิเคาระห์ ระบบ โดยขาดหลักการเเละเหตุผล หรือเรื่องที่ไม่เป็นความจิง
5.ไม่พูดส่อเสียด คือ ไม่ใส่ร้าย ผู้ร่วมงาน หรือ คู่เเข่ง ที่เราไม่ชอบ เเต่ควรที่จะใช่ความสามารถ ของทั้งสองฝ่ายเป็นเครื่องตัดสิน
6.ไม่พูดคำหยาบ คือ ไม่เขียน หรือโพสต์ คำหยาบ ที่ทำให้ผู้อ่าน เกิดความรู้สึก ไม่พอใจ ควรเลือกใช่เเต่คำที่สุภาพ
7.ไม่พูดเพ้อเจ้อ คือ ไม่อวดอ้างตัวเองว่าเป็น นักวิเคาระห์ระบบ ที่เก่งกว่าใคร หรืออ้างสรรพคุณตัวเองเกินไป

ข้อที่ 3. ที่เป็นมโนกรรม มี 3 คือ ไม่โลภอยากได้ของเขา ไม่พยาบาทปองร้าย เห็นชอบตามคลองธรรม
8.ไม่โลภอยากได้ของเขา คือ เมื่อเห็นระบบ ของคนอื่นดีกว่าก็ ม่ายควรที่จะไปก๊อบของใครเค้ามา ควรที่จะสร้างสรรค์มันขึ้นมาเองด้วยฝีมือของตน
9.ไม่พยาบาทปองร้าย คือ ในบางครั้งเราอาจจะ ทำงานออกมาเเล้ว สู้คนอื่นไม่ได้ ก็ไม่ควรที่จะไปทำร้ายเค้า
10.เห็นชอบตามคลองธรรม คือ ประกอบอาชีพของตนเองด้วย ความถูกต้องสุจริต เเละม่ายทำให้ใครเดือดร้อน ก็พอเเล้ว

วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554

อกุศลกรรมบถ 10






อกุศลกรรมบถ 10 ทางอันเป็นทางนำไปสู่ความเสื่อม ความทุกข์









1. ทำร้ายสิ่งมีชีวิต ฆ่าสัตว์
2. ขโมย ลักทรัพย์ ฉ้อโกง
3. ประพฤติผิดในกาม
4. โกหก หลอกลวง
5. พูดส่อเสียด ดูถูก
6. พูดหยาบ
7. พูดเพ้อเจ้อ นินทา
8. เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
9. คิดร้ายผู้อื่น ผูกพยาบาท
10. เห็นผิดจากความจริง เห็นกงจักรเป็นดอกบัว


ผล ของอกุศลกรรมบถในแต่ละข้อ


- ผลของการทำร้ายสิ่งมีชีวิต ฆ่าสัตว์ จะเป็นคนรูปร่างไม่งาม มีโรคมาก สุขภาพไม่ดี กำลังกายอ่อนแอ เฉื่อยชา กลัวอะไรง่าย หวาดระแวง มีอุบัติเหตุบ่อย ตายก่อนวัยอันควร อายุสั้น

- ผลของการขโมย ลักทรัพย์ ฉ้อโกง จะเกิดมาฐานะไม่ดี อดอยาก หวังอะไรไม่สมหวัง ทำธุรกิจไม่ประสบผลสำเร็จ ทรัพย์สินเสียหายพังพินาศ สิ่งของในครอบครองชำรุดเสียหาย

- ผลของการประพฤติผิดในกาม มีความต้องการทางเพศไม่ปกติ จะทำให้มีผู้เกลียดชัง เห็นหน้าแล้วก็ไม่ถูกชะตา เสียทรัพย์ไปเพราะกาม ถูกประจานได้รับความอับอายบ่อย ร่างกายไม่สมประกอบ วิตก ระแวงเกินปกติ พลัดพรากจากผู้ที่ตนรัก คนที่รักไม่ได้ ได้คนที่ไม่รัก พบแต่คนที่มีเจ้าของแล้วมาชอบ คู่มีตำหนิเช่นเจ้าชู้,หม้ายหรืออายุมาก

- ผลของการโกหก หลอกลวง มีจิตบิดเบี้ยวเข้าใจอะไรผิดง่ายๆ จะเป็นคนพูดไม่ชัด ฟันไม่เป็นระเบียบ ปากเหม็นแม้จะดูแลแล้ว ไอตัวร้อนจัด ตาไม่อยู่ในระดับปกติ ท่าทางไม่สง่าผ่าเผย แม้จะฉลาดเพียงไหนก็จะพบเหตุที่ต้องเสียรู้คนอื่น

- ผลของการพูดส่อเสียด ดูถูก จะเป็นคนชอบตำหนิตนเอง จะถูกลือโดยไม่มีความจริง แตกจากมิตรสหาย จะเกิดในตระกูลต่ำ

- ผลของการ พูดหยาบ จะเป็นคนอยู่ในสถานที่ได้ยินเสียงที่น่ารบกวนไม่สงบ ทั้งบ้านและที่ทำงาน มักหงุดหงิดรำคาญในเสียงต่างๆได้ง่าย มีผิวกายหยาบ น้ำเสียงหยาบ แก้วเสียงไม่ดี เสียงเป็นที่ระคายโสตประสาทของผู้อื่น

- ผลของการพูดเพ้อเจ้อ นินทา จะเป็นคนไม่มีเครดิต ไม่มีใครเกรงใจ เวลาพูดไม่มีใครสนใจฟัง เป็นคนไม่มีอำนาจ มีจิตฟุ้งซ่าน จิตหดหู่ สับสน

- ผลของการเพ่งเล็งอยากได้ของที่ไม่ใช่ของตน จะเป็นผู้รักษาทรัพย์สมบัติ รักษาคุณงามความดีไม่ได้ เกิดในครอบครัวอาชีพที่ต่ำต้อย ต้องได้รับคำติเตียนบ่นด่าว่าบ่อย หวังสิ่งใดไม่สมหวัง เสี่ยงโชคยังไงก็ไม่ได้

- ผลของการคิดร้ายผู้อื่น ผูกพยาบาท จะเป็นคนมีโรคมาก ผิวพรรณและรูปร่างดวงตาไม่สวย มีโรคทรมาน ตายทรมาน โดนทำร้ายตาย

- ผลของ เห็นผิดจากความจริง เห็นกงจักรเป็นดอกบัว จะเกิดในถิ่นห่างไกลความเจริญ คนป่าคนดอย ด้อยการศึกษา ไม่มีโอกาสได้ยินได้ฟังธรรมะที่ทำให้ใจสงบให้ใจปล่อยวาง ชีวิตตั้งแต่เกิดจนตายเหมือนเกิดมาว่างเปล่า หาแก่นสารมิได้

ส่วนบาปที่อยู่บอกเหนือ อกุศลกรรมบถ ก็จะมีเรื่องของศีลข้อที่ห้า คือการดื่มสุราเสพยาเสพติด

- ผลของการชอบดื่มสุราจนเมามาย เสพยาเสพติดกดประสาท กระตุ้นประสาท หลอนประสาท จะทำให้เป็นคนโดนหลอกง่าย ต้องอยู่ร่วมทำงานกับคนพาลชวนทะเลาะ รักษาทรัพย์รักษาชื่อเสียงไว้ไม่ได้ เรียงลำดับการพูดไม่รู้เรื่อง สติปัญญาและสมองไม่แจ่มใส

ดวงชะตาคนคนหนึ่ง จะดีจะร้ายสัมพันธ์กับกรรมดีชั่วดังที่กล่าวมาครับ
เรื่องราวร้ายดีแค่ ไหนที่เกิดขึ้นกับคุณบ่อยๆ นั่นก็แปลว่าคุณทำกรรมชนิดนั้นบ่อยๆ ช่วงชีวิตคนคนหนึ่ง ดีบ้าง ชั่วบ้าง หน้าใสบ้าง หน้ามืดบ้าง ทำให้ดวงชะตานั้นๆก็ดีบ้างร้ายบ้าง

ผู้เขียนชะตากรรม กำหนดชะตาชีวิตนั้นก็คือตัวของคุณเอง
ทั้งเป็นผู้เขียนมาแล้วในอดีตจน กลายมาเป็นปัจจุบัน
และกำลังเขียนเรื่องราวในอนาคต ด้วยการกระทำในวันนี้

หลักกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ

หลักกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ ดังนี้

๑. เว้นจากการฆ่าสัตว์ คือไม่ฆ่าสัตว์ นับตั้งแต่ฆ่าคนทั่วไป ฆ่าสัตว์ ที่มีคุณ และฆ่าสัตว์อื่นๆ

เจตนารมณ์ของกุศลกรรมบถข้อนี้ ต้องการให้ทุกคนรู้จักแก้ปัญหาโดยสันติวิธี ไม่ใช่โดยวิธีฆ่าอีกฝ่ายหนึ่งเสีย เพราะการฆ่านั้น ผู้ฆ่าย่อมเกิดความทารุณโหดร้ายขึ้นในใจ ทำให้ใจเศร้าหมอง และตนก็ต้องรับผลกรรมต่อไป และต้องคอยหวาดระแวงว่า ญาติพี่น้องเขาจะมาทำร้ายตอบ เป็นการแก้ปัญหา ซึ่งจะสร้างปัญหาอื่นๆ ต่อมาโดยไม่จบสิ้น

๒. เว้นจากการลักทรัพย์ คือไม่แสวงหาทรัพย์มาโดยทางทุจริต เช่น

ลัก = ขโมยเอาลับหลัง

ฉก = ชิงเอาซึ่งหน้า

กรรโชก = ขู่เอา

ปล้น = รวมหัวกันแย่งเอา

ตู่ = เถียงเอา

ฉ้อ = โกงเอา

หลอก = ทำให้เขาหลงเชื่อแล้วให้ทรัพย์

ลวง = เบี่ยงบ่ายลวงเขา

ปลอม = ทำของที่ไม่จริง

ตระบัด = ปฏิเสธ

เบียดบัง = ซุกซ่อนเอาบางส่วน

สับเปลี่ยน = แอบเปลี่ยนของ

ลักลอบ = แอบนำเข้าหรือออก

ยักยอก = เบียดบังเอาของในหน้าที่ตน

เจตนารมณ์ของกุศลกรรมบถข้อนี้ ต้องการให้ทุกคนทำมาหาเลี้ยงชีพโดยสุจริต ซึ่งจะทำให้ใช้ทรัพย์ได้เต็มอิ่ม ไม่ต้องหวาดระแวงว่าจะมีใครมาทวงคืน

๓. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม คือไม่กระทำผิดในทางเพศ ไม่ลุอำนาจแก่ความกำหนัด เช่น การเป็นชู้กับสามีภรรยาคนอื่น การข่มขืน การฉุดคร่าอนาจาร

เจตนารมณ์ของกุศลกรรมบถข้อนี้ ต้องการให้ทุกคนมีจิตใจสูง เคารพในสิทธิของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เป็นการรักษาความสงบเรียบร้อยในสังคม

๔. เว้นจากการพูดเท็จ คือต้องไม่เจตนาพูดให้ผู้ฟังเข้าใจผิดไปจากความเป็นจริง ซึ่งรวมถึงการทำเท็จให้คนอื่นหลงเชื่อรวม ๗ วิธีด้วยกัน คือ

พูดปด = โกหกซึ่งๆ หน้า

ทนสาบาน = อ้างสิ่งต่างๆ ทำให้ผู้อื่นหลงเชื่อ

ทำเล่ห์กระเท่ห์ = ทำกลอุบายหรือเงื่อนงำอันอาจทำให้คนอื่นหลงเข้าใจผิด

มารยา = เช่น เจ็บน้อยทำเป็นเจ็บมาก

ทำเลศ = ทำทีให้ผู้อื่นตีความคลาดเคลื่อนเอาเอง

เสริมความ = เรื่องนิดเดียวทำให้เห็นเป็นเรื่องใหญ่

อำความ = เรื่องใหญ่ปิดบังไว้ให้เป็นเรื่องเล็กน้อย

การเว้นจากพูดเท็จต่างๆ เหล่านี้ หมายถึง

- ไม่ยอมพูดคำเท็จเพราะเหตุแห่งตน กลัวภัยจะมาถึงตนจึงโกหก

- ไม่ยอมพูดคำเท็จเพราะเหตุแห่งคนอื่น รักเขาอยากให้เขาได้ ประโยชน์จึงโกหก หรือเพราะเกลียดเขา อยากให้เขาเสียประโยชน์จึงโกหก

- ไม่ยอมพูดเท็จเพราะเห็นแก่อามิสสินจ้าง เช่น อยากได้ทรัพย์สินเงินทองสิ่งของ จึงโกหก

เจตนารมณ์ของกุศลกรรมบถข้อนี้ ต้องการให้ทุกคนมีความสัตย์จริง กล้าเผชิญหน้ากับความจริงเยี่ยงสุภาพชน ไม่หนีปัญหา หรือหาประโยชน์ใส่ตัวด้วยการพูดเท็จ

๕. เว้นจากการพูดส่อเสียด คือไม่เก็บความข้างนี้ไปบอกข้างโน้น เก็บความข้างโน้นมาบอกข้างนี้ ด้วยเจตนาจะยุแหย่ให้เขาแตกกัน ควรกล่าวแต่ถ้อยคำที่ทำให้เกิดความสมัครสมานสามัคคี

เจตนารมณ์ของกุศลกรรมบถข้อนี้ ต้องการไม่ให้คนเราหาความชอบด้วยการประจบสอพลอ ไม่เป็นบ่างช่างยุ ต้องการให้หมู่คณะสงบสุขสามัคคี

๖. เว้นจากการพูดคำหยาบ คือไม่พูดคำซึ่งทำให้คนฟังเกิดความระคายใจ และส่อว่าผู้พูดเองเป็นคนมีสกุลต่ำ ได้แก่

คำด่า = พูดเผ็ดร้อน แทงหัวใจ พูดกดให้ต่ำ

คำประชด = พูดกระแทกแดกดัน

คำกระทบ = พูดเปรียบเปรยให้เจ็บใจเมื่อได้คิด

คำแดกดัน = พูดกระแทกกระทั้น

คำสบถ = พูดแช่งชักหักกระดูก

คำหยาบโลน = พูดคำที่สังคมรังเกียจ

คำอาฆาต = พูดให้หวาดกลัวว่าจะถูกทำร้าย

เจตนารมณ์ของกุศลกรรมบถข้อนี้ ต้องการให้ทุกคนเป็นสุภาพชน รู้จักสำรวมวาจาของตน ไม่ก่อความระคายใจแก่ผู้อื่นด้วยคำพูด

๗. เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ คือไม่พูดเหลวไหล ไม่พูดพล่อยๆ สักแต่ ว่ามีปากอยากพูดก็พูดไปหาสาระมิได้ แต่พูดถ้อยคำที่มีสาระ มีหลักฐาน มีที่อ้างอิง ถูกกาลเวลา มีประโยชน์

เจตนารมณ์ของกุศลกรรมบถข้อนี้ ต้องการให้ทุกคนมีความรับผิดชอบต่อถ้อยคำของตน

๘. ไม่โลภอยากได้ของเขา คือไม่เพ่งเล็งที่จะเอาทรัพย์ของคนอื่นในทางทุจริต

เจตนารมณ์ของกุศลกรรมบถข้อนี้ ต้องการให้คนเราเคารพในสิทธิข้าวของของผู้อื่น มีจิตใจสงบไม่ฟุ้งซ่านไหวกระเพื่อมไปเพราะความอยากได้ทรัพย์ของผู้อื่น ทำให้มีใจผ่องแผ้ว มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ พร้อมที่จะสร้างประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม

๙. ไม่พยาบาทปองร้ายเขา คือไม่ผูกใจเจ็บ ไม่คิดอาฆาตล้างแค้น ไม่จองเวร มีใจเบิกบาน แจ่มใสไม่ขุ่นมัว ไม่เกลือกกลั้วด้วยโทสะจริต

เจตนารมณ์ของกุศลกรรมบถข้อนี้ ต้องการให้คนเรารู้จักให้อภัยทาน ไม่คิดทำลาย ทำให้จิตใจสงบผ่องแผ้ว เกิดความคิดสร้างสรรค์

๑๐. ไม่เห็นผิดจากคลองธรรม คือไม่คิดแย้งกับหลักธรรม เช่น มีความเห็นที่เป็น สัมมาทิฏฐิพื้นฐาน ๘ ประการ คือ

๑. เห็นว่าการให้ทานดีจริง ควรทำ

๒. เห็นว่าการบูชาบุคคลที่ควรบูชาดีจริง ควรทำ

๓. เห็นว่าการต้อนรับแขกมีผล ควรทำ

๔. เห็นว่าผลแห่งกรรมดีกรรมชั่วมีจริง

๕. เห็นว่าโลกนี้โลกหน้ามีจริง

๖. เห็นว่าบิดามารดามีพระคุณต่อเราจริง

๗. เห็นว่าสัตว์ที่เป็นโอปปาติกะมีจริง (นรกสวรรค์มีจริง)

๘. เห็นว่าสมณพราหมณ์ที่หมดกิเลสแล้วมีจริง

หมายเหตุ ข้อ ๕ อาจแยกเป็น โลกนี้มีจริง ๑- โลกหน้ามีจริง ๑

ข้อ ๖ อาจแยกเป็น บิดามีพระคุณจริง ๑ มารดามีพระคุณจริง ๑

ซึ่งถ้าแยกแบบนี้ก็จะรวมได้เป็น ๑๐- ข้อ แต่เนื้อหาเหมือนกัน

เจตนารมณ์ของกุศลกรรมบถข้อนี้ ต้องการให้คนเรามีพื้นใจดี มีมาตรฐานความคิดที่ถูกต้อง ยึดถือค่านิยมที่ถูกต้อง มีวินิจฉัยถูก มีหลักการ มีแนวความคิดที่ถูกต้อง ส่งผลให้ความคิดในเรื่องอื่น ถูกต้องตามไปด้วย

"เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้สักอย่าง ซึ่งจะเป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดได้เกิดขึ้น หรือกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เพิ่มพูนไพบูลย์ยิ่งขึ้นเหมือนอย่างสัมมาทิฏฐินี้เลย" องฺ. เอก. ๒๐/๑๘๒/๔๐

คุณธรรมทั้ง ๑๐ ประการนี้ คนทุกคนจำเป็นต้องฝึกให้มีในตน โดยเฉพาะผู้นำ ผู้ที่จะบำเพ็ญประโยชน์แก่สังคมส่วนรวม จะต้องฝึกให้มีในตนอย่างเต็มที่ จึงจะทำงานได้ผลดี

"ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม บุคคลใดหวังความสุข หวังความ

วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2554

หน้าที่ของพนักงานวิเคระห์ระบบ เครือข่าย

ความหมายและบทบาทของนักวิเคราะห์ระบบ
1.1 ความหมายการวิเคราะห์ระบบ
ระบบคืออะไร
ระบบ คือกลุ่มขององค์การต่างๆ ที่ทำงานร่วมกันเพื่อจุดประสงค์อันเดียวกัน ระบบอาจจะประกอบด้วยบุคคลากร เครื่องมือ เครื่องใช้ พัสดุ วิธีการ ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องมีระบบจัดการอันหนึ่งเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์อันเดียว กัน ตัวอย่างเช่น
ในร่างกายคนเราจะมีระบบในตัวคือมีความสัมพันธ์ติดต่อกันระหว่างสอง เส้นประสาท เซลล์รับรู้ความรู้สึก เพื่อบรรลุเป้าหมายในการรับรู้ความรู้สึกร้อนหนาว เป็นต้น
ในการใช้ภาษาก็ถือทำอย่างเป็นระบบนั่นระบบนั่นคือ ความสัมพันธ์ติดต่อกันระหว่าง การใช้คำสัญลักษณ์ต่างๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายในการตีความให้เข้าใจภาษานั้นๆ
ในธุรกิจก็เป็นระบบอย่างหนึ่ง ซึ่งมีส่วนประกอบคือ การตลาด โรงงาน การขาย การค้นคว้า การขนส่ง การเงิน บุคคล การทำงาน โดยที่ทั้งหมดมีการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายให้เกิดกำไร
องค์ประกอบของระบบการเรียนการสอน
1. บุคคลากรได้แก่ ครูและนักเรียน
2. เครื่องมือได้แก่ เครื่องฉายแผ่นใส ชอล์ก กระดานดำ
3. พัสดุได้แก่ โต๊ะ เก้าอี้
4. วิธีการได้แก่ เขียนบนกระดานดำ ใช้แผ่นใส หรืออื่นๆ
5. การจัดการได้แก่ โรงเรียนจัดตารางเรียน เก็บเงินค่าเล่าเรียน จ่ายค่าสอนให้แก่ครู
เมื่อเราศึกษาระบบใดระบบหนึ่ง เราควรจะต้องเข้าใจการทำงานของระบบนั้นให้ดีโดย การถามตัวเองตลอดเวลาด้วยคำถามเหล่านี้
1. ระบบทำอะไร ( What )
2. ทำโดยใคร ( Who )
3. ทำเมื่อไร ( When )
4. ทำอย่างไร ( How )
การวิเคราะห์ระบบและการออกแบบ ( System Analysis and Design)
การ วิเคราะห์และออกแบบระบบคือ วิธีการที่ใช้ในการสร้างระบบสารสนเทศขึ้นมาใหม่ในธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง หรือระบบย่อยของธุรกิจ นอกจากการสร้างระบบสารสนเทศใหม่แล้ว การวิเคราะห์ระบบช่วยในการแก้ไขระบบสารสนเทศเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นด้วย ก็ได้ การวิเคราะห์ระบบคือ การหาความต้องการ ( Requirements) ของระบบสารสนเทศว่าคืออะไร หรือต้องการเพิ่มเติมอะไรเข้ามาในระบบและการออกแบบก็คือ การนำเอาความต้องการของระบบมาเป็นแบบแผนหรือเรียกว่าพิมพ์เขียว ในการสร้างระบบสารสนเทศนั้นให้ใช้ในงานได้จริง ผู้ที่ทำหน้านี้ก็คือ นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ ( System Analysis : SA )
นักวิเคราะห์ระบบคือใคร ?คอมพิวเตอร์ เป็นเพียงเครื่องมือที่ใช้สำหรับเก็บรวบรวมและประมวลผลให้กับผู้ใช้โดยให้ ประโยชน์ต่อผู้ใช้คือ ความรวดเร็วและความถูกต้องของข้อมูล ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญต่อการบริหารของธุรกิจในปัจุบันที่มีการแข่งขันสูง
ผู้ใช้ ( Users ) จึงเป็นผู้กำหนดปัญหาและแนวทางของระบบงานที่นำ มา แก้ไขซึ่งปัญหาแต่ผู้ใช้เองไม่ทราบวิธีจะนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้แก้ปัญหา หรือช่วยเหลือในการบริหาร ในทางตรงกันข้ามโปรแกรมเมอร์ ( programmers)และช่างเทคนิค ( technicians)เป็นผู้ที่สามารถจะใช้เทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์และป้อนคำสั่งให้ คอมพิวเตอร์ทำงานได้ต้องการ แต่โปรแกรมเมอร์หรือช่างเทคนิคมักจะไม่เข้าใจถึงระบบธุรกิจมากนัก ดังนั้น ช่องว่างระหว่างนักธุรกิจหรือระบบงานในหน่วยงานต่างๆ กับโปรแกรมเมอร์หรือกับช่างเทคนิคจึงอาจเกิดขึ้นได้
นักวิเคราะห์ระบบจึงทำหน้าที่เป็นผู้สมานช่องว่างนี้ นักวิเคราะห์ระบบเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงที่จะนำเอาความเข้าใจและ เทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์มาใช้ ในการพัฒนาระบบงานข้อมูลเพื่อช่วยแก้ปัญหาให้กับงานในหน่วยงานต่างๆ
1.2 บทบาทของนักวิเคราะห์ระบบ
นัก วิเคราะห์ระบบจะเป็นผู้ที่ศึกษาถึงปัญหาและความต้องการของนักธุรกิจ โดยนำเอาปัจจัย 3 ประการ คือ คน ( people ) วิธีการ ( method ) และคอมพิวเตอร์เทคโนโลยี ( computer technology ) ใช้ในการปรับปรุงหรือแก้ปัญหาให้กับนักธุรกิจ
เมื่อได้มีการนำเอาพัฒนาการทางเทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์มาใช้ นักวิเคราะห์ระบบจะต้องรับผิดชอบถึงการกำหนดลักษณะของข้อมูล ( data ) ที่จะจัดเก็บเข้าสู่ระบบงานคอมพิวเตอร์ การหมุนเวียน การเปลี่ยนแปลงของข้อมูลและระยะเวลาเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ใช้ หรือธุรกิจ ( business users )
นักวิเคราะห์ระบบไม่ได้เพียงวิเคราะห์หรือดีไซน์ระบบงานเท่านั้น หากแต่ยังขายบริการทางด้านระบบงานข้อมูล โดยนำเอาประโยชน์จากเทคโนโลยีล่าสุดมาใช้ควบคู่กันไปด้วย
จากบทบาทของนักวิเคราะห์ระบบที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ทำให้นักวิเคราะห์ระบบจะต้องมีความรู้ทั้งทางภาคธุรกิจหรือการดำเนินงาน ในหน่วยงานต่างๆ และคอมพิวเตอร์ควบคู่กัน นักวิเคราะห์ระบบโดยส่วนใหญ่สามารถที่จะดีไซน์ระบบงานและเขียนโปรแกรมขึ้น ได้ด้วยตัวเอง ส่วนนี้เองกลับทำให้บุคคลภายนอกเกิดความสับสนระหว่างโปรแกรมเมอร์กับนัก วิเคราะห์ระบบ
1.3 ความแตกต่างระหว่างโปรแกรมเมอร์และนักวิเคราะห์ระบบ
โปรแกรมเมอร์ ( programmer ) หมายถึงบุคคลที่รับผิดชอบในด้านการเขียนโปรแกรม สิ่งที่เขาจะเชื่อมโยงนั้น ได้แก่ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติ ( Operating System :OS ) หรือแม้กระทั่งภาษาที่ใช้ในการเขียน เช่น COBOL, BASIC และ C++ งานของโปรแกรมเมอร์จะเป็นไปในลักษณะที่มีขอบเขต ที่แน่นอนคือโปรแกรมที่เขาเขียนขึ้นนั้นถูกต้องตามจุดประสงค์หรือไม่ กิจกรรมงานของโปรแกรมจะเกี่ยวข้องกับคนจำนวนน้อย เช่น กับโปรแกรมเมอร์ด้วยกันเอง หรือกับนักวิเคราะห์ระบบที่เป็นผู้วางแนวทางของระบบให้แก่เขา
นักวิเคราะห์ระบบ หรือที่เรียกกันย่อๆ ว่า SA (SYSTEM ANALYSIS) นั้น นอกจากจะต้องรับผิดชอบต่อการโปรแกรมคอมพิวเตอร์แล้ว ยังจะต้องรับผิดชอบงานในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดหาอุปกรณ์ต่างๆ เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ผู้ที่จะใช้ระบบแฟ้มหรือฐานข้อมูลต่างๆ รวมทั้งข้อมูลดิบที่จะป้อนเข้าระบบงานของนักวิเคราะห์ระบบไม่ได้อยู่ใน ลักษณะที่แน่นอนแบบโปรแกรมเมอร์ ไม่มีคำตอบที่แน่นอนจากระบบที่เขาวางไม่ว่าผิดหรือถูก งานของเขาเกิดจากการประนีประนอมและผสมผสานของปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบงาน คือ ผู้ใช้ วิธีการ เทคโนโลยี และอุปกรณ์จนได้ผลลัพธ์ที่เหมาะสมออกมาเป็นระบบงาน (APPLICATION SYSTEM) งานของนักวิเคราะห์ระบบจึงมักจะต้องเกี่ยวข้องกับคนหลายระดับ ตั้งแต่ลูกค้าหรือผู้ใช้ นักธุรกิจ โปรแกรมเมอร์ ผู้ตรวจสอบบัญชีหรือแม้กระทั่งเซลล์แมนที่ขายระบบงานข้อมูล
แม้ว่างานของนักวิเคราะห์ระบบจะดูเป็นงานที่ยากและซับซ้อน แต่งานในลักษณะนี้ก็เป็นงานที่ท้าทายให้กับบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์และ กว้างไกลเข้ามาอยู่เสมอ ความรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้วางระบบงานออกมาเป็นรูปร่างและสามารถ ใช้ปฏิบัติได้จริง จะฝังอยู่ในสำนึกของเขาตลอดเวลา ความรู้สึกอันนี้คงจะถ่ายทอดออกมาเป็นตัวหนังสือไม่ได้ แต่จะทราบกันเองในหมู่ของนักวิเคราะห์ระบบด้วยกัน
เพื่อให้เข้าใจความหมายของนักวิเคราะห์ระบบมากยิ่งขึ้น ตารางที่ 1 จะแสดงให้เห็นรายละเอียดของหน้าที่ของนักวิเคราะห์ระบบ

วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2554





ความหมายของจริยธรรม

จริยธรรม (Ethics)






คำว่า "จริยธรรม" แยกออกเป็น จริย + ธรรม ซึ่งคำว่า จริย หมายถึง ความประพฤติหรือกิริยาที่ควรประพฤติ ส่วนคำว่า ธรรม มีความหมายหลายประการ เช่น คุณความดี, หลักคำสอนของศาสนา, หลักปฏิบัติ เมื่อนำคำทั้งสองมารวมกันเป็น "จริยธรรม" จึงมีความหมายตามตัวอักษรว่า "หลักแห่งความประพฤติ" หรือ "แนวทางของการประพฤติ"






จริยธรรม เป็นสิ่งที่ควรประพฤติ มีที่มาจากบทบัญญัติหรือคำสั่งสอนของศาสนา หรือใครก็ได้ที่เป็นผู้มีจริยธรรม และได้รับความเคารพนับถือมาแล้ว






ลักษณะของผู้มีจริยธรรม ผู้มีจริยธรรมจะเป็นผู้ที่มีคุณลักษณะดังนี้






๑. เป็นผู้ที่มีความเพียรความพยายามประกอบความดี ละอายต่อการปฏิบัติชั่ว






๒. เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต ยุติธรรม และมีเมตตากรุณา






๓. เป็นผู้มีสติปัญญา รู้สึกตัวอยู่เสมอ ไม่ประมาท






๔. เป็นผู้ใฝ่หาความรู้ ความสามารถในการประกอบอาชีพ เพื่อความมั่นคง






๕. เป็นผู้ที่รัฐสามารถอาศัยเป็นแกนหรือฐานให้กับสังคม สำหรับการพัฒนาใด ๆ ได้






แนวทางการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมที่กำหนดโดยรัฐบาล จากคุณสมบัติของผู้มีจริยธรรมดังกล่าว แสดงถึงความเป็นคนมีคุณภาพ มีภาวะความเป็นผู้นำ อันเป็นที่ต้องการขององค์การและสังคมทุกระดับ รัฐบาลไทยได้เห็นความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพของประชาชนในด้านจริยธรรมและคุณธรรมในสังคม จึงได้บรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ ๘ โดยเน้นการพัฒนาจิตใจในลักษณะที่สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน ซึ่งผลที่ปรากฏในปัจจุบันก็คือ มีการเผยแผ่ธรรมะทางสื่อต่าง ๆ มากมาย วัดวาอารามก็ได้เข้ามามีส่วนร่วมส่วนช่วยในการอบรมสั่งสอนด้วย จริยธรรมเป็นจริยสมบัติ หน่วยงานต่าง ๆ ก็ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี คนไทยวัยหนุ่มสาวและเยาวชนได้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก จากที่เห็นได้จากสื่อและข่าวต่าง ๆ เนื่องจากจริยธรรมเป็นคุณสมบุติที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการวัดคุณภาพของคน ซึ่งมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของประชากรทั้งประเทศ รัฐบาลจึงได้กำหนดแนวทางการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมไว้ดังนี้






๑. พัฒนาจิตใจประชากรกลุ่มเป้าหมาย โดยให้ผู้นำแต่ละกลุ่มเป็นผู้บริหารเปลี่ยนแปลง






๒. ให้สถาบันของสังคมและครอบครัวทำหน้าที่อันถูกต้อง ชอบธรรมของตนเอง แก้ไขข้อบกพร่องโดยรีบด่วน






๓. บรรจุการพัฒนาจิตใจในหลักสูตร การฝึกอบรมทุกหลักสูตร และให้ดำเนินการพัฒนาต่อเนื่องต่อไป







๔. ให้มีการพัฒนาวิธีปลูกฝัง อบรม สั่งสอนศีลธรรม จริยธรรม ตามความเหมาะสมของกลุ่มเป้าหมายให้เป็นที่น่าสนใจ






๕. สร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมของสังคมอันได้แก่ศิลปะ วัฒนธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ถูกต้องดีงามตามหลักศีลธรรมและจริยธรรม






นอกจากการพัฒนาของรัฐบาลดังกล่าว องค์การควรได้ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรขององค์การในวิธีเดียวกันในองค์การอีกแห่งหนึ่ง เพื่อให้บุคลากรขององค์การเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่พึงประสงค์ขององค์การและประเทศชาติโดยแท้จริง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยวิธีดังกล่าวอาจเป็นส่วนหนึ่งสำหรับการพัฒนาองค์การ ที่สำคัญก็คือองค์การควรให้มีการสร้างบรรยากาศหรือสภาวะแวดล้อมในการทำงานให้ดีด้วย ดังเช่นไม่ให้คนมีงานทำมากเกินไป หรือน้อยเกินไป การพิจารณาความดีความชอบให้มีความยุติธรรม และส่งเสริมด้วยมนุษยสัมพันธ์ภายในองค์การด้วย ซึ่งบรรยากาศที่ดีจะช่วยการพัฒนาจิตใจ ในด้านสถาบันการศึกษาก็ควรได้มีการบรรจุหลักคุณธรรมไว้ในหลักสูตร เพื่อเป็นการพัฒนาและให้การศึกษากับคนทั้งชาติ เพื่อการพัฒนาจิตใจของคนในชาติให้มีคุณภาพ











ความหมายของจริยธรรมทางธุรกิจ






จากการศึกษาเราสามารถสรุปความหมายของ จริยธรรมทางธุรกิจ ได้ดังนี้






จริยธรรมทางธุรกิจ คือ การทำธุรกิจอย่างมีจริยธรรม หมายถึง เป็นผู้ประกอบการไม่ว่า






จะเป็นผู้ผลิตจำหน่าย หรือบริการด้วยจริยวัตรที่ดีงาม มีคุณธรรม มีมา ซื่อตรง ยุติธรรม






จริยธรรมทางธุรกิจ เป็นมาตรฐานของการประกอบธุรกิจ การผลิตสินค้า การใช้บริการ






จัด จำหน่ายเพื่อได้รับผลตอบแทนตามสมควรกับการที่ลงทุนไปอย่างเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายไม่ว่า






จะเป็นผลิตหรือผู้บริโภคเจ้าของกิจการ ผู้ถือหุ้น ผู้บริหาร ผู้ร่วมงาน ผู้บริการ รัฐบาล สังคม ซึ่ง






ต่างมีความสัมพันธ์เชิงธุรกิจร่วมกัน






จริยธรรมทางธุรกิจ หมายถึงกลไกทุกส่วนที่ให้ความชอบธรรมเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด






ของธุรกิจ






ความหมายของอาชีพกับนักธุรกิจ






จากการศึกษาในด้านการประกอบอาชีพทางด้านธุรกิจเราสามารถสรุปความหมาย






ได้ดังนี้






อาชีพ (Profession) หมายถึง การทำงานที่มุ่งบริการยิ่งกว่าหาเงิน ผู้ประกอบอาชีพ






มิได้หมายความว่าต้องประกอบกิจการโดยไม่รับค่าตอบแทน จำเป็นจะต้องมีอัตราค่าตอบแทน






จำเป็นจะต้องมีอัตราค่าตอบแทนพอสมควร






กับการบริการและการรับผิดชอบ แต่มุ่งประกอบเพื่อรับใช้สังคมเป็นที่ตั้ง มีมาตรการ






ร่วมสำหรับควบคุมการประกอบอาชีพต่างๆ โดยผู้ประกอบการอาชีพนั้นๆ ไม่กล้าฝ่าฝืนเพราะ






การเสียจรรยาบรรณจะได้รับการดูถูกเหยียดหยามกลายเป็นบุคคลน่ารังเกียจของสังคมและ






ประสบความล้มเหลวในชีวิต






ธุรกิจ (Business) หมายถึง การทำงานที่มุ่งหาเงินยิ่งกว่าการบริการ งานใดจะเป็น






อาชีพหรือธุรกิจย่อมขึ้นอยู่กับความตั้งใจของตัวผู้ทำงาน ฉะนั้นผู้ประกอบธุรกิจบางคนทำอย่าง






นักธุรกิจแต่อย่างเดียวบางคนทำอย่างนักอาชีพด้วย การมองถ้ามองในแง่เศรษฐศาสตร์ก็จะเป็น






นักธุรกิจ ถ้ามองในแง่จริยศาสตร์ก็เป็นนักอาชีพที่มุ่งประกอบกิจการเพื่อกอบโกยหา






ผลประโยชน์แต่อย่างเดียว การแสดงออกในความประพฤติขณะทำงานจึงต่างกันกับผู้ประกอบ






อาชีพ อาชีพทั้งหลายก็กลายเป็นธุรกิจได้ง่าย











ความหมายของจริยธรรมในทางพระพุทธศาสนา






ระดับของจริยธรรมในพระพุทธศาสนา
ในทางพระพุทธศาสนาได้แบ่งระดับของธรรมอันเป็นที่มาของจริยธรรมไว้เป็น 2 ระดับ ดังนี้ (สุภาพร พิศาลบุตร, 2546 : 16)
1. ระดับโลกียธรรม โลกียธรรม หมายถึง ธรรมอันเป็นวิสัยของโลก สภาวะธรรมที่เกี่ยวกับโลก เป็นธรรมในระดับเบื้องต้นของบุคคล จริยธรรมในระดับโลกียธรรมมุ่งให้บุคคลอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ทำแต่ความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส จริยธรรมในระดับนี้เหมาะสำหรับบุคคลทั่วไปจะนำไปประพฤติปฏิบัติ การประพฤติปฏิบัติโดยทั่วไปจะนำคำสั่งสอนหรือพุทธวัจนะมาเป็นแนวทางในการกำหนดขอบข่ายของจริยธรรมของแต่ละองค์กรในสังคมให้มีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป เช่น ระเบียบของสังคม จารีต ขนบธรรมเนียม ประเพณี กฎกติกา ข้อบัญญัติ กฎหมายต่าง ๆ เป็นต้น
2. ระดับโลกุตรธรรม โลกุตรธรรม หมายถึง ธรรมที่พ้นวิสัยของโลก สภาวะพ้นโลก พ้นจากกิเลส เป็นธรรมในระดับสูง หรือธรรมสำหรับบุคคลผู้มีสติปัญญาแก่กล้าเข้าใกล้ความเป็นอริยบุคคลหรือผู้หลุดพ้นจากกิเลส ธรรมในระดับนี้แบ่งตามสภาวธรรมของบุคคลเป็น 4 ระดับ คือ โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี และอรหันต์ ธรรมที่กล่าวมานี้เป็นธรรมหรือข้อปฏิบัติที่ผู้ประพฤติมีความมุ่งมั่นที่จะฝึกฝนตนเองทั้งกาย วาจา ใจ อย่างระมัดระวังและเคร่งครัดในคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ถือเป็นข้อปฏิบัติที่มีวิถีทางที่แตกต่างไปจากจริยธรรมในระดับ โลกียธรรมของบุคคลธรรมดาทั่วไปโดยสิ้นเชิง
ความสัมพันธ์ของจริยธรรมกับพระพุทธศาสนา
ศาสนานับเป็นบ่อเกิดที่สำคัญของจริยธรรม ฉะนั้นหลักธรรมคำสอนในศาสนาจึงมีส่วนสำคัญในฐานะเป็นแหล่งที่มาของหลักจริยธรรมทั้งหลาย ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประเภทอเทวนิยม หมายถึง ศาสนาที่ไม่เชื่อในเรื่องพระเจ้า พระผู้สร้างโลกและสรรพสิ่งทั้งมวล แต่เชื่อในเรื่องกฎของธรรมชาติ เชื่อในกฎแห่งกรรม คำสอนในพุทธศาสนา เป็นคำสอนในลักษณะที่เป็นสัจธรรม เช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว หลักธรรมคำสอนเหล่านี้สมควรที่บุคคลทั่วไปจะนำไปประพฤติปฏิบัติ เพราะการดำเนินชีวิตที่สุจริต มีคุณธรรม จริยธรรมของบุคคลในสังคมจะก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าต่อตนเอง สังคม และประเทศชาติ การที่บุคคลจะพัฒนาชีวิตให้เจริญก้าวหน้าตงตามความมุ่งหมายได้นั้นจะต้องอาศัยหลักธรรมเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ฉะนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า หลักจริยธรรมที่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่ได้ถือปฏิบัตินั้นมีส่วนความสัมพันธ์กับหลักธรรมในพระพุทธศาสนา เพราะยึดถือตามแนวทางของคำสอนในพระพุทธศาสนาเป็นหลัก อีกทั้งยังได้มีการนำเอาหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับวิถีชีวิตของคนไทย ในปัจจุบันด้วย
ด้วยเหตุที่หลักธรรมในพระพุทธศาสนามีมากมาย ฉะนั้นจึงขอยกมากล่าวเท่าที่เห็นว่าเป็นหลักธรรมเบื้องต้นที่สามารถนำมาเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์บุคคลให้เป็นผู้ที่มี คุณธรรม จริยธรรมได้ ดังนี้ 1.1 ความสำคัญในระดับบุคคล พระพุทธศาสนามีหลักธรรมคำสั่งสอนที่เกี่ยวกับความประพฤติ และข้อปฏิบัติที่ดีงามสามารถนำไปเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตได้ ทั้งยังเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจทำให้เกิดความอบอุ่น และผ่อนคลายความทุกข์โศกของบุคคลทั่วไปได้
1.2 ความสำคัญในระดับสังคม พระพุทธศาสนาจัดเป็นเครื่องจรรโลงสังคมที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาสอนเกี่ยวกับการทำความดี ละเว้นความชั่ว ความเมตตากรุณา ความซื่อสัตย์ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ก่อให้เกิดความรัก ความสามัคคีต่อกัน สร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่สังคมได้อย่างยิ่ง ตัวอย่างข้อธรรมะปฏิบัติในพระพุทธศาสนาที่สามารถใช้แนวทางให้แก่บุคลในสังคมได้ประพฤติกัน ได้แก่ สังคหวัตถุธรรม อันเป็นธรรมที่สงเคราะห์ซึ่งกันและกัน ทำให้บุคคลในสังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสงบสุข1.3 ความสำคัญในระดับประเทศ พระพุทธศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศาสนิกชนคนไทยนับตั้งแต่โบราณกาล เป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย และข้อสำคัญเป็นหลักในการสั่งสอนอบรมให้ชาติเป็นคนดี มีศีลธรรม มีน้ำใจและอัธยาศัยไมตรีอันดี รู้จักหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี มีความเคารพต่อกฎระเบียบและกฎหมายของบ้านเมือง รู้จักรักและหวงแหนวัฒนธรรมประเพณีที่บรรพบุรุษได้สั่งสมสืบทอดกันมาเป็นเวลายาวนาน การปลูกฝังสิ่งดีงามที่กล่าวมานี้ พระพุทธศาสนามีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างและส่งเสริมให้คนในชาติมีคุณธรรมและจริยธรรมประจำใจ
1.4 ความสำคัญในระดับโลก ศาสนามีส่วนสำคัญในการจรรโลงใจโลกไว้ไม่ให้เจริญในด้านวัตถุเพียงอย่างเดียว หากโลกมีความเจริญแต่ด้านวัตถุเพียงเดียวมนุษยชาติจะไม่ได้พบกับความสงบสุขกันเลย เหมือนดังที่บางประเทศกำลังประสบอยู่ในขณะนี้ เหตุเพราะมีความเจริญแต่ทางวัตถุ ขาดสิ่งควบคุมอำนาจของวัตถุ คือความเจริญทางด้านจิตใจ ดังนั้นมนุษย์จึงควรมีความเจริญทางด้านจิตใจควบคู่กันไปกับความเจริญทางด้านวัตถุ จึงจะเรียกได้ว่าเป็นการพัฒนาที่ถูกทิศทางพระพุทธศาสนานั้นเป็นศาสนาที่พัฒนาบุคคลทั้งทางกายและจิตใจไปพร้อมๆกัน และให้ความสำคัญของจิตใจมากกว่าวัตถุ สอนให้มนุษย์เข้าถึงความสงบของจิตใจ อันเป็นเหตุให้เกิดความสันติสุขขึ้นในโลก จะเห็นได้ว่าปัจจุบันมีชาวต่างชาติทั้งชาวยุโรปและ เอเชียหลายประเทศด้วยกันให้ความสนใจและหันมาศึกษาพระพุทธศาสนากันมากขึ้น ฉะนั้นจึงนับได้ว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่สำคัญของชาวโลกทั้งมวล






องค์ประกอบของจริยธรรม






จริยธรรมนั้นถือได้ว่าเป็นเครื่องกำหนดหลักปฏิบัติในการดำรงชีวิต เป็นแนวทางใน






การอยู่ร่วมกันอย่างสงบเรียบร้อย ซึ่งในสังคมหรือทักองค์ต้องมีข้อปฏิบัติร่วมกันจึงสามารถอยู่






ร่วมกันเป็นหมุ่คณะได้มีดังนี้






7. ระเบียบวินัย (Discipline) เป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่จะต้องมีในองค์กร ซึ่งถ้าองค์กร






ใดขาดกฏเกณฑ์ หรือระเบียบวินัย ที่จะเป็นแนวปฏิบัติร่วมกันแล้ว โดยแต่ละ






คน ต่างคนต่างทำอะไร ได้ตามความต้องการไม่มีผู้นำไม่มีระเบียบแบบแผน






ให้ยึดถือในแนวเดียวกัน ถ้าหากเป็นเช่นนี้จะทำให้เกิดการละเมิดสิทธิ หน้าที่






เกิดความเดือนร้อน และความไม่สงบในองค์การจึงอาจทำให้องค์กรไม่






สามารถประสบความสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กรได้ดังนั้นองค์กรทุก






องค์กรต้องมีระเบียบวินัย






2. สังคม (Society) เป็นการรวมกลุ่มกัน ประกอบกิจกรรมอย่างมีระเบียบแบบ






แผนจะก่อให้เกิด ความเรียบร้อยขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม ซึ่งการรวมกลุ่มกันประกอบ






กิจกรรมในด้านธุรกิจนั้น หากทุกองค์กร สามารถที่จะให้ความร่วมมือให้เกิดการพัฒนาสังคม






หรือตอบแทนคืนให้สังคมโดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน จะทำให้สังคมเกิดสิ่งดีๆ เช่น เกิด






เหตุการณ์ คลื่นยักษ์สึนามิที่ภาคใต้ จะเห็นได้ว่าหน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าภาครัฐหรือเอกชน หรือ






แม้กระทั่งคนไทยทั้งประเทศ ได้ร่วมกันสร้างสรรค์สังคม ด้วยบริจาคทั้งทุนทรัพย์และกำลัง






เท่าที่สามารถช่วยได้ในการทำกิจกรรมให้การช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆ ซึ่งจะเห็นได้จาก






กิจกรรมทางสังคมนี้ ที่จะปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสังคมไทยนั้น เป็นสังคมที่เปี่ยมด้วยน้ำใจที่บริสุทธิ์






อย่างแท้จริง






3. อิสระ เสรี (Autonomy) โดยทั่วไปแล้ว บุคคลที่สำนึกในมโนธรรม






ประสบการณ์ชีวิต ย่อมจะเป็นบุคคลที่มีความสุขที่จะอยู่ในระเบียบวินัย สำหรับคนไทยนั้น






ค่านิยม ยังหมายรวมถึง อิสระ เสรีภาพ ซึ่งเมื่อได้รับการขัดเกลาแล้ว สามารถปกครองตนเอง






ให้อยู่ในทำนองคลองธรรมได้ ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้คณะกรรมการโครงการการศึกษาจริยธรรม ได้






ทำการกำหนดจริยธรรมที่ควรปลูกฝังแก่คนไทยไว้ 8 ประการ ดังนี้






1. การใฝ่สัจจะ คือ การยึดถือความจริง ศรัทะในส่งที่มีหลักฐานข้อมูลรับรองที่






สามารถพิสูจน์ ตรวจสอบได้ แสวงหาความรู้ความจริงได้






2. การใช้ปัญญาในการแก้ไขปัญหา คือ การใช้กระบวนการค้นหาความรู้ความจริง






เป็นทางออกอย่างมีเหตุผลเหมาะสม เพื่อแก้ปัญหาหรือขจัดอุปสรรคข้อยุ่งยากต่างๆ ที่เผชิญอยู่






3. เมตตากรุณา คือ การเสียสละนั้นไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อตนเอง แต่ช่วย






ให้ผู้อื่นได้พ้นจากความทุกข์กังวล






4. สติ-สัมปรัชญญะ คือ การที่บุคคลนั้นมีความรู้ตนเองอยู่เสมอว่า ตนกำลังทำ






อะไรอยู่และสามารถที่จะเตือนตนเองให้สามารถตัดสินใจที่แสดงออกมาทางด้านการประพฤติ






ปฏิบัติในทางที่ถูกต้องด้วยสติ






5. ไม่ประมาท คือ การที่กระทำอะไรก็ตาม จะต้องมีการวางแผน เพื่อเตรียมพร้อม






โดยต้องมีการคาดการณ์เพื่อรับผลที่ตามมาของการกระทำใดๆ ของตนเองอยู่สม่ำเสมอจนเกิด






เป็นนิสัย






6. ซื่อสัตยสุจริต คือ การมีจิตใจและการปฏิบันตนที่ตรงต่อความเจริญความถูกต้อง






ความดีงาม ตรงต่อหน้าที่ความรับผิดชอบ ตรงตามระเบียบแบบแผนและกฏเกณฑ์ต่อคำมั่น






สัญญา ซึ่งหาก ปฏิบัติแบบนี้แล้ว จะก่อให้เกิดการยอมรับในที่จะอยู่ร่วมกันในสังคมได้






7. ขยัน-หมั่นเพียร คือ การมีความพอใจต่อหน้าที่การงานของตนที่ได้รับผิดชอบ มี






จิตใจที่จดจ่อกับงานที่ตนเองได้รับผิดชอบ จนสิ้นสุดกระบวนการในการทำงาน






8. หิริ-โอตตัปปะ คือ การละอาย และเกรงกลัวต่อการประพฤติชั่ว การผิดศีลธรรม






ต่อมาได้มีการเพิ่มลักษณะจริยธรรมไทย 11 ประการ คือ






1. การมีเหตุผล 2. ความซื่อสัตย์






3. ความรับผิดชอบ 4. ความเสียสละ






5. ความสามัคคี 6. ความกตัญญูกตเวที






7. การรักษาระเบียบวินัย 8. การประหยัด






9. ความยุติธรรม 10. ความอุตสาหะ






11. ความเมตตากรุณา






ประเภทของจริยธรรม






การแบ่งประเภทของจริยธรรม แบ่งอกกเป็น 2 ประเภท ดั้งนี้ (พิภพ วัชเงิน : 2545,5)






1. จริยธรรมภายนอก เป็นจริยธรรมที่บุคคลแสดงออกทางพฤติกรรม






ภายนอกที่ปรากฏให้เป็นที่สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน เช่น ความรับผิดชอบ ความเป็นระเบียบ






เรียบร้อยความมีวินัย การตรงต่อเวลาเป็นต้น






2. จริยธรรมภายใน เป็นจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกนึกคิดหรือทัศนคติ






ของบุคคลิตามสภาพของจิตใจและสภาวะแวดล้อม เช่น ควงาใมซื่อสัตย์ ความยุติธรรม ความ






เมตตากรุณา ความกตัญญูกตเวทีเป็นต้น






โครงสร้างในด้านคุณลักษณะของจริยธรรม






คุณลักษณะของจริยธรรมเป็นสิ่งที่แสดงลักษณะเฉพาะของจริยธรรมเพื่อให้เห็นเด่นชัด






ในด้านหนึ่งและมีความแตกต่างจากจริยธรรมด้านอื่น ๆ ทั้งนี้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการ






จัดการด้านการศึกษาหลายหน่วยงาน ได้กำหนดโครงสร้างจริยธรรม พร้อมทั้งกำหนด






คุณลักษณะของจริยธรรม ไว้ดั้งนี้






1. ความรับผิดชอบ หมายถึง การปฏิบัติหน้าที่อย่างตั้งใจ มีความละเอียดรอบคอบ มี






ความพากเพรียรพยายามเพื่อให้งานหรือภาระที่รับผิดชอบอยู่บรรลุผลสำเร็จตรงตามเป้าหมาย






2. ความซื่อสัตย์ หมายถึง การประพฤติปฏิบัติตนอย่างตรงไปตรงมา ตรงต่อความเป็น






จริง ทั้งการ วาจา ใจ ต่อตนเองและผู้อื่น






3. ความมีเหตุผล หมายถึง การรู้จักใช้สติปัญญา ไตร่ตรอง คิดใคร่ครวญ หรือพิสูจน์






สิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ประจักษ์โดยไม่ผูกพันกับอารมณ์ และความยึดมั่นในความคิดของตนเอง






4. ความกตัญญูกตเวที หมายถึง ความรู้สึกสำนึกในบุญคุณของบุคคลผู้มีอุปการะคุณ






หรือสิ่งอันมีคุณต่อมนุษย์เรา และแสดงออกถึงความสำนึกในบุญคุณนั้นด้วยการตอบแทนคุณ






อาจกระทำด้วยสิ่งของหรือการกระทำอย่างนอบน้อม






5. ความอุตสาหะ หมายถึง ความพยายามอย่างยิ่งยวด เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จในการงาน






หรือกิจกรรมที่ทำด้วยขยันขันแข็งกระตือรือร้น อดทน ถึงแม้จะประสบปัญหาหรืออุปสรรค






ขัดขวางก็ไม่ยอมแพ้และไม่ย่อท้อ






6. ความสามัคคี หมายถึง ความพร้อมเพียงเป็นนำหนึ่งใจเดียวกัน การให้ความร่วมมือ






ในการกระทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จลุล่วงด้วยดีโดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม






มากกว่าประโยชน์ส่วนตัว รวมทั้งมีความรักในหมู่คณะของตน






7. ความมีระเบียบวินัย หมายถึง การควบคุมความประพฤติของตนเองให้ปฏิบัติได้อย่าง






ถูกต้องและเหมาะสมกับจรรยามารยาททางสังคม กฏ ระเบียบ ข้อบังคับ กฏหมายและศลีธรรม






8. ความเสียสละ หมายถึง การลดละความเห็นแก่ตัว การแบ่งปันแก่คนที่ควรให้ด้วย






ทรัพย์สิน กำลังกาย และกำลังปัญญาของตนเอง






9. ความประหยัด หมายถึง การใช้สิ่งของหรือใช้จ่ายอย่างระมัดระวังและพอเหมาะ






พอควร เพื่อให้เกิดประโยชนสูงสุด ไม่ฟุ้งเฟ้อ ฟุ้มเฟือยจนเกิดฐานะของตน






10. ความยุติธรรม หมายถึง การปฏิบัติตนด้วยความเที่ยงตรง การพิจารณาเรื่องราว






ต่างๆ จะต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง ไม่มีความลำเอียงหรือเข้ากับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง






11. ความเมตตากรุณา หมายถึง ความรักใคร่ปรารถนาจะให้ผู้อื่นเป็นสุข และมีความ






สงสารอยากจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นจากความทุกข์