วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เเรม

EDO RAM ( Extended Data Out RAM ) ทั้ง ๆ ที่มีการโหมโฆษณารอบ ๆ ตัวของมัน แต่ EDO RAM ก็ยังไม่มีอะไรมากไปกว่าประเภทของ FPM RAM แต่เนื่องจากมันรู้ว่าส่วนใหญ่ เมื่อ CPU มีความต้องการหน่วยความจำสำหรับแอดเดรสหนึ่ง ก็จะต้องการข้อมูลในแอดเดรสที่อยู่ใกล้ ๆ บริเวณนั้นด้วย ดังนั้น EDO RAM จะยังคงจับติดอยู่กับตำแหน่งของการแอกเซสในครั้งก่อน เพื่อให้การเข้าถึงแอดเดรสใกล้เคียงกันทำได้เร็วขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ประสิทธิภาพของการเข้าถึงหน่วยความจำดีขึ้นกว่า 40% แต่ EDO RAM จะมีประสิทธิภาพที่ดีได้เมื่อใช้กับความเร็วของบัสที่ 66 MHz เท่านั้น

SDRAM ( Synchronous Dynamic RAM ) ทรัพยากรและวิธีการต่าง ๆ มากมายกำลังเดินหน้าเข้าไปสู่การพัฒนา SDRAM และมันก็เริ่มปรากฏโฉมให้เห็นตามหน้าโฆษณาคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ แล้ว และสำหรับเหตุผลสองประการของการเพิ่มความนิยมกันอย่างมากคือ ประการแรก SDRAM สามารถที่จะจัดการความเร็วของบัสได้ถึง 100 MHz ประการที่สอง SDRAM มีความสอดคล้องกับระบบนาฬิกาของตัวมันเอง ซึ่งความสามารถทางด้านเทคนิคนี้วิศวกรคอมพิวเตอร์ทั้งหลายยังรู้สึกได้ว่ามันเป็นอะไรที่ยากจะเข้าใจได้ แม้จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ก็ตาม นอกจากนั้นเทคโนโลยีของ SDRAM ยังให้เพจของหน่วยความจำเปิดได้ถึงสองเพจในเวลาเดียวกันอีกด้วย มาตรฐานใหม่สำหรับ SDRAM ได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยองค์กรที่มีชื่อว่า SCIzzL ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยแซนตาคลารา ( รัฐแคลิฟอร์เนีย ) ซึ่งร่วมมือกับบริษัทอุตสาหกรรมชั้นแนวหน้าอีกหลายบริษัท โดยเราเรียกว่า SLDRAM เทคโนโลยีนี้ได้รับการพัฒนาพบ SDRAM โดยการรองรับความเร็วของบัสที่มากกว่าเดิมและการใช้แพ็กเกต ( แพ็กขนาดเล็กของข้อมูล ) เพื่อทำหน้าที่คอยดูแลความต้องการของแอดเดรส การคำนวณเวลา และคำสั่งที่ไปถึง DRAM ผลลัพธ์ที่ได้คือการอาศัยการปรับปรุงที่น้อยกว่าในการออกแบบชิปของ DRAM และรวมไปถึงราคาที่ต่ำกว่ามาก สำหรับหน่วยความจำประสิทธิภาพสูงเช่นนี้

DRAM
Dynamic Random Access Memory หรือ DRAM หรือ ดีแรม คือ แรม (Random Access Memory; RAM) หรือ หน่วยความจำชนิดปกติสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีและเครื่องเวิร์คสเตชั่น (Workstation) หน่วยความจำคือเครือข่ายของประจุไฟฟ้าที่เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้เก็บข้อมูลในรูปของ "0" และ "1" ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายๆ

Random Access หรือ การเข้าถึงแบบสุ่ม หมายถึง โปรเซสเซอร์สามารถเข้าถึงทุกๆส่วนของหน่วยความจำหรือพื้นที่เก็บข้อมูลได้โดยตรง ไม่จำเป็นต้องค้นหาข้อมูลที่ต้องการเรียงตามลำดับจากจุดเริ่มต้น

DRAM คือไดนามิก ซึ่งตรงกันข้ามกับ SRAM หรือ สแตติกแรม (Static RAM); DRAM ต้องการการรีเฟรช (Refresh) เซลเก็บข้อมูล หรือการประจุไฟ (Charge) ในทุกๆช่วงมิลลิวินาที ในขณะที่ SRAM ไม่ต้องการการรีเฟรชเซลเก็บข้อมูล เนื่องจากมันทำงานบนทฤษฎีของการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้าซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงใน 2 ทิศทาง ไม่เหมือนกับเซลเก็บข้อมูลซึ่งเป็นเพียงตัวเก็บประจุไฟฟ้าเท่านั้น โดยทั่วไป SRAM มักจะถูกใช้เป็นหน่วยความจำแคช (Cache Memory) ซึ่งโปรเซสเซอร์สามารถเข้าถึงได้เร็วกว่า

DRAM จะเก็บทุกๆบิตในเซลเก็บข้อมูล ซึ่งประกอบขึ้นด้วยกลุ่มตัวเก็บประจุ (คาปาซิเตอร์; Capacitor) และทรานซิสเตอร์ (Transistor) คาปาซิเตอร์จะสูญเสียประจุไฟฟ้าอย่างรวดเร็ว และนั่นเป็นเห็นเหตุผลว่า ทำไม DRAM จึงต้องการการรีชาร์ต

ปัจจุบัน มีแรมมากมายหลากหลายชนิดในท้องตลาด เช่น EDO RAM, SDRAM และ DDR SDRAM เป็นต้น

DDR-RAM (ดีดีอาร์ แรม) หรือ DDR SDRAM ย่อมาจากคำว่า "Double Data Rate SDRAM" คือ หน่วยความที่ใช้เก็บข้อมูลชั่วคราว (Ram) ที่ได้รับการพัฒนา และ ยึดถือหลักการทำงานตามปกติของหน่วยความจำแบบ SD-RAM จึงทำให้ทำงานได้เหมือนกัน SD-RAM แทบทุกอย่าง แตกต่างกันตรงที่ DDR-RAM สามารถทำงานที่ความเร็วสูงกว่า 200MHz (เมกะเฮิร์ตซ) ขึ้นไปได้ และมีความสามารถในการรับส่งข้อมูลเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า คือ รับส่งข้อมูลได้ทั้งทั้งขาขึ้นและขาลงของสัญญาณนาฬิกา เทียบกับSD-RAM ปกติที่จะรับส่งข้อมูลเฉพาะขาขึ้นของสัญญาณนาฬิกาเพียงด้านเดียวคะ แรมชนิดนี้สังเกตุได้จากมีจำนวนขาสัญญาณ(Pins) 184 ขา และเขี้ยวที่ด้านสัมผัสทองแดงมีอยู่ที่เดียว แตกต่างจาก SD-RAM ที่มีอยู่ 2 ที่

หน่วยความจำ DDR2 เทียบกับ DDR

หน่วยความจำ DDR2 มีขนาดทางกายภาพเท่ากับ DDR แต่มีการกำหนดจำนวนขาแตกต่างกัน

ตารางด้านล่างนี้เปรียบเทียบความแตกต่าง ระหว่างหน่วยความจำ DDR และ DDR2:

DDR2DDR
DIMMไม่มีที่พักข้อมูล240 ขา 1.8 โวลต์184 ขา 2.5 โวลต์
DIMM ลงทะเบียน240 ขา 1.8 โวลต์184 ขา 2.5 โวลต์
SO-DIMMs200 ขา 1.8 โวลต์200 ขา 2.5 โวลต์
DIMM ลงทะเบียนขนาดเล็ก244 ขา 1.8 โวลต์
MicroDIMMS214 ขา 1.8 โวลต์172 ขา 2.5 โวลต์


เนื่องจากมีการกำหนดแรงดันไฟฟ้า และจำนวนขาที่แตกต่างกัน หน่วยความจำDDR2 จึงมี 'คีย์' หรือร่องที่ขั้วต่อแตกต่างไป เพื่อป้องกันไม่ให้เสียบลงช่องที่ไม่สามารถใช้งานร่วมกันได้ หน่วยความจำ DDR2 จะใส่ได้เฉพาะกับระบบ และเมนบอร์ด ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ เพื่อรองรับหน่วยความจำ DDR2 เท่านั้น

DDR2 and DDR Module Key Locations


Side by side view of DDR2 and DDR modules
เเหล่งข้อมูล - http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=23a7add9dfd2d35b
นางสาวกาญจนา จอมศรี เลขที่ 1
นางสาวขวัญฤทัย เจริญผล เลขที่ 2
นางสาวจริยา รัดถา เลขที่ 3
นางสาวจิดาภา เชื้อสาวะถี เลขที่ 4
นางสาวจิราภรณ์ เเลสงเขียว เลขที่ 5
นายสุมนัส กองศรีผิว เลขที่ 38

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์(Super computer)




เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและสามารถประมวลผลได้เร็วที่สุด ซึ่งส่วนมากแล้วจะผลิตมาใช้กับงานโดยเฉพาะด้านเท่านั้น เช่น งานวิทยาศาสตร์ที่ยุ่งยากซับซ้อน และต้องมีการคำนวณมาก งานออกเเบบเตรื่องบิน งานวิจัยทางด้านนิวเคลียร์ ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดนี้จะมีราคาค่อนข้างแพงมาก ดั้งนั้นจึงมีใช้ไม่แพร่หลายมากนัก








สุดยอดความเร็วซุปเปอร์คอมพิวเตอร์







คอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วในการทำงานมากที่สุดในโลก เขาจะเรียกว่า ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ หรือ Supercomputer ความเร็วของเครื่องซุปเปอร์คอมพิว เตอร์นั้นมักมีการเปรียบเทียบจัดอันดับกันอยู่เรื่อย ๆ ว่าเครื่องไหนในโลกเร็วกว่ากัน และในปีนี้ทางสหรัฐ อเมริกา ก็โอ่ว่าแซงหน้าญี่ปุ่นไปแล้ว ซึ่งญี่ปุ่นเป็นแชมป์ เดิมอยู่




พูดถึงเรื่อง ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ และความ เร็วนั้นก็คงจะต้องมาทำความเข้าใจทั้งสองเรื่องก่อนให้ตรงกันคือ

ประการแรกซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ คืออะไร ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ในความหมายของตัวเองนั้น ก็ชัดเจนอยู่แล้ว คำว่าซุปเปอร์ก็เหมือนกับสุดยอดเพราะฉะนั้น ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ก็คือสุดยอดของคอมพิวเตอร์ นั่นเอง ก็เหมือนยอดมนุษย์เค้าก็เรียกซุปเปอร์แมนนั่นแหละ ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์นั้นก็จะสามารถประมวลผล คำสั่งได้สูงสุดนั่นแหละ ที่ต้องใช้ความเร็วมากขนาดนั้นเพราะจะต้องประมวลผลคำสั่งทีละจำนวนมาก ๆ ด้วยความเร็วสูง และรอไม่ได้ และต้องรู้ผลลัพธ์ทันที เช่นการพยากรณ์อากาศ ซึ่งจะต้องรู้ผลลัพธ์ล่วงหน้าก่อนความเสียหายจะเกิดขึ้นกับมนุษย์ ในด้านการแพทย์เรื่องการวิเคราะห์โรค การสังเคราะห์ยีน การทำดาต้าไมนิ่ง

ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์มีลักษณะการทำงานแบบ ประมวลผล คู่ขนานซึ่งปัจจุบันมี 2 แบบคือ แบบ เอส เอ็มพี (SMP) และแบบเอ็มเอ็มพี (MMP) ทั้งสองต่างกันตรงที่ เอสเอ็มพีจะใช้หน่วยความจำร่วมกัน แต่กรณีของเอ็มเอ็มพีจะมีหน่วยความจำของตนเองสำหรับการทำงานประมวลผล


และบริษัทที่สามารถสร้างเครื่องซุปเปอร์คอม พิวเตอร์ได้จนมีชื่อเสียงในโลกขณะนี้ ก็จะรู้จักกันในนามของเครย์ (Cray) ซึ่งสร้างไว้สำหรับการพยากรณ์อากาศโดยเฉพาะที่ประเทศอังกฤษซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ ในรุ่นหลัง ๆ นั้นก็มีจะสร้างที่สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น และก็มักจะใช้ในด้านการพยากรณ์อากาศ

ประการที่สองคือความเร็วของคอมพิวเตอร์ เขาวัดความเร็วของซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ ด้วยความเร็วที่ เรียกว่า ทีราฟลอพ teraflop ซึ่งมีความหมายว่าสามารถทำงานได้เร็วด้วยความสามารถประมวลผลคำสั่งได้เป็น 1012 คำสั่งต่อวินาที หรือเอา 10 คูณกัน 12 ครั้ง ก็คือ 1,000,000,000,000 หรือหนึ่งล้านล้านคำสั่งต่อวินาที

เดิมทีนั้นที่ประเทศญี่ปุ่นสร้างเครื่องซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ สำหรับการพยากรณ์แบบจำลองของโลก เช่น แผ่นดินไหว โดยบริษัทเอ็นอีซี (NEC) ซึ่งมีความ เร็ว 35.86 ทีราฟลอพ หรือ 35.86 ล้านล้านคำสั่งต่อวินาทีถือว่าเร็วมากที่สุดในโลกเมื่อก่อน


ในปัจจุบัน กระทรวงการคลังของสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศว่า มีซุปเปอร์คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ คือ รุ่น บลูยีนแอล หรือ Blue Gene/L ซึ่งสามารถทำความเร็วได้ถึง 70.72 ทีราฟลอพ หรือสามารถทำได้ถึง 70.72 ล้านล้านคำสั่งต่อวินาที และซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ชุดนี้ก็จะเป็นของบริษัทไอบีเอ็ม หรือยักษ์สีฟ้านั่นเอง

ทางรองประธานกรรมการบริษัทอาวุโสของบริษัท ไอบีเอ็มก็ยังประกาศว่า ในอนาคตคือประมาณปี 2006 ทางบริษัทจะสามารถทำให้ซุปเปอร์มีความเร็วได้ถึง 1,000 ทีราฟลอพ หรือที่ภาษาอังกฤษจะเรียกว่า พีทาฟลอพ (Petaflop) หรือ 10 คูณกัน 15 ครั้ง หรือ 1015 หรือ 1,000,000,000,000,000 คำสั่งต่อวินาที เร็วขนาดไหนใช้จินตนาการดูเอาเองก็แล้วกัน แต่รับรองว่าพีซีทีที่เราใช้กันทุกวันไม่ต้องไปเทียบเคียงให้เสียเวลา

ที่เขียนมาเรื่องนี้ ก็ยังน่าเสียดายว่า ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ที่กรมอุตุนิยมวิทยาของไทย สมัยผมเป็น ส.ส. เคยอภิปรายเรื่องนี้ให้ผู้บริหารเท่าไร ก็ไม่ยอมรับรู้ ปัจจุบันเป็นอย่างไรก็คงปรากฏชัดเจน ถ้าหากฟังตั้งแต่ สมัยนั้นป่านนี้เราก็คงจะได้ระบบพยากรณ์อากาศชั้นดีสำหรับประชาชนทั้งประเทศไปแล้ว หรือว่าในอนาคตคงจะเกิดสิ่งดี ๆ ในกรมอุตุนิยมวิทยาก็แล้วกันครับ.

ราคาของซุปเปอร์คอมพิวเตอร์


โอริออนปิ๊งไอเดีย ผลิต ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Supercomputer) หวังเจาะตลาดนิชมาร์เก็ต กลุ่มนักออกแบบ นักวิจัย ที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงกว่าพีซีในราคาไม่สูงตาม โคลิน ฮันเตอร์ (Colin Hunter) ซีอีโอของบริษัทโอริออน มัลติซิสเต็มส์ อิงค์ (Orion Multisystems Inc.) ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มแนวความคิดผลิตซูเปอร์คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลนี้ กล่าวว่า พวกเขามองเห็นช่องว่างของตลาดไอที ระหว่างผู้ใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ และคอมพิวเตอร์พีซีซึ่งยังเป็นตลาดมีการเติบโตค่อนข้างสูง แต่ทว่า อัตราความเร็วในการทำงานของคอมพิวเตอร์พีซีที่สูงที่สุดนั้นทำได้แค่ 2-3 พันล้านรอบนาฬิกาต่อวินาที ในขณะที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีรอบนาฬิกาสูงถึง 1 ล้านล้านรอบต่อวินาที ซึ่งโอริออนผลิตซูเปอร์คอมพิวเตอร์เข้ามาแทรกตลาดในส่วนที่มีการประมวลผลคำสั่งในระดับแสนล้านคำสั่งต่อวินาทีนั่นเอง สถาปัตยกรรมการประมวลผลดังกล่าวเป็นแบบ การประมวลผลแบบขนาน (Parallel Processing) เป็นการนำชิปประมวลผลหลาย ๆ ตัวมาต่อเชื่อมเข้าด้วยกัน และแยกส่วนกันทำงาน ทำงานโดยใช้ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ หัวใจสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ การควบคุมการใช้พลังงานในทุก ๆ คอมโพเนนท์ของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ดังกล่าว ให้กินไฟน้อยลง ไม่สิ้นเปลือง โดยจะต้องสามารถใช้กระแสไฟฟ้าจากปลั๊กไฟมาตรฐานได้ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ทางบริษัทเปิดตัวมีสองรุ่น รุ่นแรกเป็นรุ่นตั้งโต๊ะ (Desktop Model) มีขนาดเท่ากล่องพิซซ่า ภายในประกอบด้วยโปรเซสเซอร์ชิป 12 ตัว ฮาร์ดดิสก์ความจุ 1.8 เทราไบต์ อีกรุ่นหนึ่งจะมีขนาดใหญ่กว่่อรุ่นว่า DS-96 ภายในบรรจุโปรเซสเซอร์ 96 ตัว สามารถประมวลผลได้ 1.5 แสนล้านคำสั่งต่อวินาทีในการทำงานปกติ แต่ในช่วงพีค (Peak) ก็สามารถรองรับการประมวลผลที่เพิ่มขึ้นได้สูงสุดถึง 3 แสนล้านคำสั่งต่อวินาที ส่วนฮาร์ดดิสก์ของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ดังกล่าวมีความจุ 7.8 เทราไบต์ (อ้างอิงจากรอยเตอร์) ทั้งนี้ทั้งนั้น ซูเปอร์คอมพิวเตอร์สองรุ่นดังกล่าวใช้โปรเซสเซอร์ชิปของทรานสเมตะ ราคาของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ทั้งสองนั้น ทางบริษัทโอริออนเปิดเผยว่า สำหรับรุ่นโปรเซสเซอร์ 12 ตัวนั้นมีราคาประมาณ 10,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 416,500 บาท) ส่วนรุ่นโปรเซสเซอร์ 96 ตัวนั้นมีราคาประมาณ 100,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 4,165,000 บาท) แนวความคิดในการสร้างซูเปอร์คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลนี้มีความเป็นไปได้ว่า โอริออนต้องการปลุกกระแสความต้องการของตลาดในเครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์ทรงพลัง มากด้วยประสิทธิภาพให้เกิดขึ้นอีกครั้ง หลังจากที่ถูกคอมพิวเตอร์พีซีตีตลาดเสียราบคาบ ด้วยนวัตกรรมโครงสร้างสถาปัตยกรรมของหน่วยประมวลผล ที่อาจเรียกได้ว่าเป็นการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดจากสถาปัตยกรรมของคอมพิวเตอร์พีซีในปัจจุบัน จากการคาดการณ์ของผม ซึ่งอยู่ในวงการนี้มานานหลายปี เชื่อมั่นว่าในอนาคต ชื่อของโอริออนจะได้รับการยอมรับไม่แพ้ ซัน ไอบีเอ็ม และฮิวเล็ตต์ แพกการ์ด ฮันเตอร์กล่าวให้สัมภาษณ์อย่างมุ่งมั่น ลูกค้าปัจจุบันของซูเปอร์คอมพิวเตอร์แบรนด์ดังกล่าวได้แก่ Mathematica บริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อการวิจัยชั้นนำ, Bioteam บริษัทที่ปรึกษาเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในกวิจัยปัญหาด้านจีโนมิกส์ (Genomics) และเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) เป็นความคิดที่ฉลาดมาก ในการพัฒนาซูเปอร์คอมพิวเตอร์ขนาดย่อม เพื่อรองรับตลาดในกลุ่มนักวิจัย หรือบริษัทดีไซเนอร์ อีกทั้งยังสามารถใช้กระแสไฟ 120 โวลต์ธรรมดา ๆ ได้อีกต่างหาก ดร.เบน อิงกลิส (Dr.Ben Inglis) นักวิจัยสาขาฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนียกล่าว ดร.อิงกลิสมีแผนว่าจะใช้คอมพิวเตอร์โอริออนในการศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กที่มีต่อสมองของมนุษย์ ทั้งในด้านการสร้างความหวาดกลัว ผลกระทบต่อความจำ และการกระตุ้นในลักษณะอื่น ๆ บริษัทโอริออนก่อตั้งขึ้นในปี 2003 มีพนักงานประมาณ 40 ชีวิต ซึ่งล้วนเต็มไปด้วยผู้มากประสบการณ์จากบริษัทชั้นนำต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นจากทรานสเมตะ (Transmeta) ซันไมโครซิสเต็มส์ ผู้บริหารระดับสูงจากเดลล์ และ 2 ผู้เชี่ยวชาญจากเฟล็กทรอนิกส์ ซึ่งชำนาญในการคิดค้นกระบวนการผลิตแบบประหยัดต้นทุน







นางสาวกาญจนา จอมศรี เลขที่ 1


นางสาวขวัญฤทัย เจริญผล เลขที่ 2


นางสาวจริยา รัดถา เลขที่ 3


นางสาวจิดาภา เชื้อสาวัตถี เลขที่ 4


นางสาวจิรภรณ์ เเสงเขียว เลขที่ 5


นายสุมนัส กองศรีผิง เลขที่ 38



เเหล่งข้อมูล - http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8B%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C


- http://www.itmelody.com/free_tip/AR_ViewItem.php?id=192


- http://www.dailynews.co.th/it/each.asp?newsid=39147

- http://hitech.sanook.com/%E0%B8%8B%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%84%E0%B8%A5-%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2-10000-%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%8D%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90-836895.html

วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

องค์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย
1.ส่วนรับข้อมูล (Input Unit)
2.ส่วนประมวลผลข้อมูล (Central Processing Unit)
3.ส่วนแสดงผล (Output Unit)
4.หน่วยความจำ (Memory Unit)

1.ส่วนรับช้อมูล (Input Unit) เป็นส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลจากคน เเละส่งต่อไปยัง หน่วยประมวลผล ซึ่งประกอบด้วย





คีบอร์ด (Keyboard)




เมาส์ (mouse)






สเเกนเนอร์





อุปกรณ์สเเกนลายนิ้วมือ








ไมโครโฟน







กล่องเว็บเเคม

2.ส่วนประมวลผลข้อมูล (Central Processing Unit)

เป๊นส่วนที่ทำหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่รับมาจากส่วนรับข้อมูล เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตาม
ที่ต้องการ อีกทั้งยังทำหน้าที่ในการควบคุมการต่าง ๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์









3.หน่วยเเสดงผล (Output Unit)



เป็นหน่วยที่เเสดงผลลัพธ์ที่มาจากการประมวลผลข้อมูล ของส่วนประมวลข้อมูล โดยปกติรูปแบบของการเเสดงผล มีอยู่ 2 เเบบ ด้วยกันคือ เเบบที่สามารถเก็บไว้ดูภายหลังได้



-เเบบที่สามารถเก็บไว้ดูภายหลังได้ เช่น เครื่องพิมพ์ เเละเครื่อง
เครื่องวาด











เครื่องพิมพ์








เครื่องวาด







-เครื่องที่ไม่มีสำนวนเก็บไว้ เช่น จอภาพ เครื่องฉายภาพ เเละลำโพง

4.หน่วยความจำ เป็นอุปกรณ์สถานะข้อมูลเเละชุดคำสั่ง ประกอบด้วย หน่วยความจำภายใน คือ ฮาร์ดดิสก์ เเละหน่วยความจำภายนอก เช่น เเฟรกไดร์ เป็นต้น