วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2554





ความหมายของจริยธรรม

จริยธรรม (Ethics)






คำว่า "จริยธรรม" แยกออกเป็น จริย + ธรรม ซึ่งคำว่า จริย หมายถึง ความประพฤติหรือกิริยาที่ควรประพฤติ ส่วนคำว่า ธรรม มีความหมายหลายประการ เช่น คุณความดี, หลักคำสอนของศาสนา, หลักปฏิบัติ เมื่อนำคำทั้งสองมารวมกันเป็น "จริยธรรม" จึงมีความหมายตามตัวอักษรว่า "หลักแห่งความประพฤติ" หรือ "แนวทางของการประพฤติ"






จริยธรรม เป็นสิ่งที่ควรประพฤติ มีที่มาจากบทบัญญัติหรือคำสั่งสอนของศาสนา หรือใครก็ได้ที่เป็นผู้มีจริยธรรม และได้รับความเคารพนับถือมาแล้ว






ลักษณะของผู้มีจริยธรรม ผู้มีจริยธรรมจะเป็นผู้ที่มีคุณลักษณะดังนี้






๑. เป็นผู้ที่มีความเพียรความพยายามประกอบความดี ละอายต่อการปฏิบัติชั่ว






๒. เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต ยุติธรรม และมีเมตตากรุณา






๓. เป็นผู้มีสติปัญญา รู้สึกตัวอยู่เสมอ ไม่ประมาท






๔. เป็นผู้ใฝ่หาความรู้ ความสามารถในการประกอบอาชีพ เพื่อความมั่นคง






๕. เป็นผู้ที่รัฐสามารถอาศัยเป็นแกนหรือฐานให้กับสังคม สำหรับการพัฒนาใด ๆ ได้






แนวทางการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมที่กำหนดโดยรัฐบาล จากคุณสมบัติของผู้มีจริยธรรมดังกล่าว แสดงถึงความเป็นคนมีคุณภาพ มีภาวะความเป็นผู้นำ อันเป็นที่ต้องการขององค์การและสังคมทุกระดับ รัฐบาลไทยได้เห็นความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพของประชาชนในด้านจริยธรรมและคุณธรรมในสังคม จึงได้บรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ ๘ โดยเน้นการพัฒนาจิตใจในลักษณะที่สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน ซึ่งผลที่ปรากฏในปัจจุบันก็คือ มีการเผยแผ่ธรรมะทางสื่อต่าง ๆ มากมาย วัดวาอารามก็ได้เข้ามามีส่วนร่วมส่วนช่วยในการอบรมสั่งสอนด้วย จริยธรรมเป็นจริยสมบัติ หน่วยงานต่าง ๆ ก็ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี คนไทยวัยหนุ่มสาวและเยาวชนได้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก จากที่เห็นได้จากสื่อและข่าวต่าง ๆ เนื่องจากจริยธรรมเป็นคุณสมบุติที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการวัดคุณภาพของคน ซึ่งมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของประชากรทั้งประเทศ รัฐบาลจึงได้กำหนดแนวทางการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมไว้ดังนี้






๑. พัฒนาจิตใจประชากรกลุ่มเป้าหมาย โดยให้ผู้นำแต่ละกลุ่มเป็นผู้บริหารเปลี่ยนแปลง






๒. ให้สถาบันของสังคมและครอบครัวทำหน้าที่อันถูกต้อง ชอบธรรมของตนเอง แก้ไขข้อบกพร่องโดยรีบด่วน






๓. บรรจุการพัฒนาจิตใจในหลักสูตร การฝึกอบรมทุกหลักสูตร และให้ดำเนินการพัฒนาต่อเนื่องต่อไป







๔. ให้มีการพัฒนาวิธีปลูกฝัง อบรม สั่งสอนศีลธรรม จริยธรรม ตามความเหมาะสมของกลุ่มเป้าหมายให้เป็นที่น่าสนใจ






๕. สร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมของสังคมอันได้แก่ศิลปะ วัฒนธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ถูกต้องดีงามตามหลักศีลธรรมและจริยธรรม






นอกจากการพัฒนาของรัฐบาลดังกล่าว องค์การควรได้ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรขององค์การในวิธีเดียวกันในองค์การอีกแห่งหนึ่ง เพื่อให้บุคลากรขององค์การเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่พึงประสงค์ขององค์การและประเทศชาติโดยแท้จริง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยวิธีดังกล่าวอาจเป็นส่วนหนึ่งสำหรับการพัฒนาองค์การ ที่สำคัญก็คือองค์การควรให้มีการสร้างบรรยากาศหรือสภาวะแวดล้อมในการทำงานให้ดีด้วย ดังเช่นไม่ให้คนมีงานทำมากเกินไป หรือน้อยเกินไป การพิจารณาความดีความชอบให้มีความยุติธรรม และส่งเสริมด้วยมนุษยสัมพันธ์ภายในองค์การด้วย ซึ่งบรรยากาศที่ดีจะช่วยการพัฒนาจิตใจ ในด้านสถาบันการศึกษาก็ควรได้มีการบรรจุหลักคุณธรรมไว้ในหลักสูตร เพื่อเป็นการพัฒนาและให้การศึกษากับคนทั้งชาติ เพื่อการพัฒนาจิตใจของคนในชาติให้มีคุณภาพ











ความหมายของจริยธรรมทางธุรกิจ






จากการศึกษาเราสามารถสรุปความหมายของ จริยธรรมทางธุรกิจ ได้ดังนี้






จริยธรรมทางธุรกิจ คือ การทำธุรกิจอย่างมีจริยธรรม หมายถึง เป็นผู้ประกอบการไม่ว่า






จะเป็นผู้ผลิตจำหน่าย หรือบริการด้วยจริยวัตรที่ดีงาม มีคุณธรรม มีมา ซื่อตรง ยุติธรรม






จริยธรรมทางธุรกิจ เป็นมาตรฐานของการประกอบธุรกิจ การผลิตสินค้า การใช้บริการ






จัด จำหน่ายเพื่อได้รับผลตอบแทนตามสมควรกับการที่ลงทุนไปอย่างเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายไม่ว่า






จะเป็นผลิตหรือผู้บริโภคเจ้าของกิจการ ผู้ถือหุ้น ผู้บริหาร ผู้ร่วมงาน ผู้บริการ รัฐบาล สังคม ซึ่ง






ต่างมีความสัมพันธ์เชิงธุรกิจร่วมกัน






จริยธรรมทางธุรกิจ หมายถึงกลไกทุกส่วนที่ให้ความชอบธรรมเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด






ของธุรกิจ






ความหมายของอาชีพกับนักธุรกิจ






จากการศึกษาในด้านการประกอบอาชีพทางด้านธุรกิจเราสามารถสรุปความหมาย






ได้ดังนี้






อาชีพ (Profession) หมายถึง การทำงานที่มุ่งบริการยิ่งกว่าหาเงิน ผู้ประกอบอาชีพ






มิได้หมายความว่าต้องประกอบกิจการโดยไม่รับค่าตอบแทน จำเป็นจะต้องมีอัตราค่าตอบแทน






จำเป็นจะต้องมีอัตราค่าตอบแทนพอสมควร






กับการบริการและการรับผิดชอบ แต่มุ่งประกอบเพื่อรับใช้สังคมเป็นที่ตั้ง มีมาตรการ






ร่วมสำหรับควบคุมการประกอบอาชีพต่างๆ โดยผู้ประกอบการอาชีพนั้นๆ ไม่กล้าฝ่าฝืนเพราะ






การเสียจรรยาบรรณจะได้รับการดูถูกเหยียดหยามกลายเป็นบุคคลน่ารังเกียจของสังคมและ






ประสบความล้มเหลวในชีวิต






ธุรกิจ (Business) หมายถึง การทำงานที่มุ่งหาเงินยิ่งกว่าการบริการ งานใดจะเป็น






อาชีพหรือธุรกิจย่อมขึ้นอยู่กับความตั้งใจของตัวผู้ทำงาน ฉะนั้นผู้ประกอบธุรกิจบางคนทำอย่าง






นักธุรกิจแต่อย่างเดียวบางคนทำอย่างนักอาชีพด้วย การมองถ้ามองในแง่เศรษฐศาสตร์ก็จะเป็น






นักธุรกิจ ถ้ามองในแง่จริยศาสตร์ก็เป็นนักอาชีพที่มุ่งประกอบกิจการเพื่อกอบโกยหา






ผลประโยชน์แต่อย่างเดียว การแสดงออกในความประพฤติขณะทำงานจึงต่างกันกับผู้ประกอบ






อาชีพ อาชีพทั้งหลายก็กลายเป็นธุรกิจได้ง่าย











ความหมายของจริยธรรมในทางพระพุทธศาสนา






ระดับของจริยธรรมในพระพุทธศาสนา
ในทางพระพุทธศาสนาได้แบ่งระดับของธรรมอันเป็นที่มาของจริยธรรมไว้เป็น 2 ระดับ ดังนี้ (สุภาพร พิศาลบุตร, 2546 : 16)
1. ระดับโลกียธรรม โลกียธรรม หมายถึง ธรรมอันเป็นวิสัยของโลก สภาวะธรรมที่เกี่ยวกับโลก เป็นธรรมในระดับเบื้องต้นของบุคคล จริยธรรมในระดับโลกียธรรมมุ่งให้บุคคลอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ทำแต่ความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส จริยธรรมในระดับนี้เหมาะสำหรับบุคคลทั่วไปจะนำไปประพฤติปฏิบัติ การประพฤติปฏิบัติโดยทั่วไปจะนำคำสั่งสอนหรือพุทธวัจนะมาเป็นแนวทางในการกำหนดขอบข่ายของจริยธรรมของแต่ละองค์กรในสังคมให้มีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป เช่น ระเบียบของสังคม จารีต ขนบธรรมเนียม ประเพณี กฎกติกา ข้อบัญญัติ กฎหมายต่าง ๆ เป็นต้น
2. ระดับโลกุตรธรรม โลกุตรธรรม หมายถึง ธรรมที่พ้นวิสัยของโลก สภาวะพ้นโลก พ้นจากกิเลส เป็นธรรมในระดับสูง หรือธรรมสำหรับบุคคลผู้มีสติปัญญาแก่กล้าเข้าใกล้ความเป็นอริยบุคคลหรือผู้หลุดพ้นจากกิเลส ธรรมในระดับนี้แบ่งตามสภาวธรรมของบุคคลเป็น 4 ระดับ คือ โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี และอรหันต์ ธรรมที่กล่าวมานี้เป็นธรรมหรือข้อปฏิบัติที่ผู้ประพฤติมีความมุ่งมั่นที่จะฝึกฝนตนเองทั้งกาย วาจา ใจ อย่างระมัดระวังและเคร่งครัดในคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ถือเป็นข้อปฏิบัติที่มีวิถีทางที่แตกต่างไปจากจริยธรรมในระดับ โลกียธรรมของบุคคลธรรมดาทั่วไปโดยสิ้นเชิง
ความสัมพันธ์ของจริยธรรมกับพระพุทธศาสนา
ศาสนานับเป็นบ่อเกิดที่สำคัญของจริยธรรม ฉะนั้นหลักธรรมคำสอนในศาสนาจึงมีส่วนสำคัญในฐานะเป็นแหล่งที่มาของหลักจริยธรรมทั้งหลาย ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประเภทอเทวนิยม หมายถึง ศาสนาที่ไม่เชื่อในเรื่องพระเจ้า พระผู้สร้างโลกและสรรพสิ่งทั้งมวล แต่เชื่อในเรื่องกฎของธรรมชาติ เชื่อในกฎแห่งกรรม คำสอนในพุทธศาสนา เป็นคำสอนในลักษณะที่เป็นสัจธรรม เช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว หลักธรรมคำสอนเหล่านี้สมควรที่บุคคลทั่วไปจะนำไปประพฤติปฏิบัติ เพราะการดำเนินชีวิตที่สุจริต มีคุณธรรม จริยธรรมของบุคคลในสังคมจะก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าต่อตนเอง สังคม และประเทศชาติ การที่บุคคลจะพัฒนาชีวิตให้เจริญก้าวหน้าตงตามความมุ่งหมายได้นั้นจะต้องอาศัยหลักธรรมเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ฉะนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า หลักจริยธรรมที่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่ได้ถือปฏิบัตินั้นมีส่วนความสัมพันธ์กับหลักธรรมในพระพุทธศาสนา เพราะยึดถือตามแนวทางของคำสอนในพระพุทธศาสนาเป็นหลัก อีกทั้งยังได้มีการนำเอาหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับวิถีชีวิตของคนไทย ในปัจจุบันด้วย
ด้วยเหตุที่หลักธรรมในพระพุทธศาสนามีมากมาย ฉะนั้นจึงขอยกมากล่าวเท่าที่เห็นว่าเป็นหลักธรรมเบื้องต้นที่สามารถนำมาเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์บุคคลให้เป็นผู้ที่มี คุณธรรม จริยธรรมได้ ดังนี้ 1.1 ความสำคัญในระดับบุคคล พระพุทธศาสนามีหลักธรรมคำสั่งสอนที่เกี่ยวกับความประพฤติ และข้อปฏิบัติที่ดีงามสามารถนำไปเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตได้ ทั้งยังเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจทำให้เกิดความอบอุ่น และผ่อนคลายความทุกข์โศกของบุคคลทั่วไปได้
1.2 ความสำคัญในระดับสังคม พระพุทธศาสนาจัดเป็นเครื่องจรรโลงสังคมที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาสอนเกี่ยวกับการทำความดี ละเว้นความชั่ว ความเมตตากรุณา ความซื่อสัตย์ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ก่อให้เกิดความรัก ความสามัคคีต่อกัน สร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่สังคมได้อย่างยิ่ง ตัวอย่างข้อธรรมะปฏิบัติในพระพุทธศาสนาที่สามารถใช้แนวทางให้แก่บุคลในสังคมได้ประพฤติกัน ได้แก่ สังคหวัตถุธรรม อันเป็นธรรมที่สงเคราะห์ซึ่งกันและกัน ทำให้บุคคลในสังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสงบสุข1.3 ความสำคัญในระดับประเทศ พระพุทธศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศาสนิกชนคนไทยนับตั้งแต่โบราณกาล เป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย และข้อสำคัญเป็นหลักในการสั่งสอนอบรมให้ชาติเป็นคนดี มีศีลธรรม มีน้ำใจและอัธยาศัยไมตรีอันดี รู้จักหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี มีความเคารพต่อกฎระเบียบและกฎหมายของบ้านเมือง รู้จักรักและหวงแหนวัฒนธรรมประเพณีที่บรรพบุรุษได้สั่งสมสืบทอดกันมาเป็นเวลายาวนาน การปลูกฝังสิ่งดีงามที่กล่าวมานี้ พระพุทธศาสนามีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างและส่งเสริมให้คนในชาติมีคุณธรรมและจริยธรรมประจำใจ
1.4 ความสำคัญในระดับโลก ศาสนามีส่วนสำคัญในการจรรโลงใจโลกไว้ไม่ให้เจริญในด้านวัตถุเพียงอย่างเดียว หากโลกมีความเจริญแต่ด้านวัตถุเพียงเดียวมนุษยชาติจะไม่ได้พบกับความสงบสุขกันเลย เหมือนดังที่บางประเทศกำลังประสบอยู่ในขณะนี้ เหตุเพราะมีความเจริญแต่ทางวัตถุ ขาดสิ่งควบคุมอำนาจของวัตถุ คือความเจริญทางด้านจิตใจ ดังนั้นมนุษย์จึงควรมีความเจริญทางด้านจิตใจควบคู่กันไปกับความเจริญทางด้านวัตถุ จึงจะเรียกได้ว่าเป็นการพัฒนาที่ถูกทิศทางพระพุทธศาสนานั้นเป็นศาสนาที่พัฒนาบุคคลทั้งทางกายและจิตใจไปพร้อมๆกัน และให้ความสำคัญของจิตใจมากกว่าวัตถุ สอนให้มนุษย์เข้าถึงความสงบของจิตใจ อันเป็นเหตุให้เกิดความสันติสุขขึ้นในโลก จะเห็นได้ว่าปัจจุบันมีชาวต่างชาติทั้งชาวยุโรปและ เอเชียหลายประเทศด้วยกันให้ความสนใจและหันมาศึกษาพระพุทธศาสนากันมากขึ้น ฉะนั้นจึงนับได้ว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่สำคัญของชาวโลกทั้งมวล






องค์ประกอบของจริยธรรม






จริยธรรมนั้นถือได้ว่าเป็นเครื่องกำหนดหลักปฏิบัติในการดำรงชีวิต เป็นแนวทางใน






การอยู่ร่วมกันอย่างสงบเรียบร้อย ซึ่งในสังคมหรือทักองค์ต้องมีข้อปฏิบัติร่วมกันจึงสามารถอยู่






ร่วมกันเป็นหมุ่คณะได้มีดังนี้






7. ระเบียบวินัย (Discipline) เป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่จะต้องมีในองค์กร ซึ่งถ้าองค์กร






ใดขาดกฏเกณฑ์ หรือระเบียบวินัย ที่จะเป็นแนวปฏิบัติร่วมกันแล้ว โดยแต่ละ






คน ต่างคนต่างทำอะไร ได้ตามความต้องการไม่มีผู้นำไม่มีระเบียบแบบแผน






ให้ยึดถือในแนวเดียวกัน ถ้าหากเป็นเช่นนี้จะทำให้เกิดการละเมิดสิทธิ หน้าที่






เกิดความเดือนร้อน และความไม่สงบในองค์การจึงอาจทำให้องค์กรไม่






สามารถประสบความสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กรได้ดังนั้นองค์กรทุก






องค์กรต้องมีระเบียบวินัย






2. สังคม (Society) เป็นการรวมกลุ่มกัน ประกอบกิจกรรมอย่างมีระเบียบแบบ






แผนจะก่อให้เกิด ความเรียบร้อยขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม ซึ่งการรวมกลุ่มกันประกอบ






กิจกรรมในด้านธุรกิจนั้น หากทุกองค์กร สามารถที่จะให้ความร่วมมือให้เกิดการพัฒนาสังคม






หรือตอบแทนคืนให้สังคมโดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน จะทำให้สังคมเกิดสิ่งดีๆ เช่น เกิด






เหตุการณ์ คลื่นยักษ์สึนามิที่ภาคใต้ จะเห็นได้ว่าหน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าภาครัฐหรือเอกชน หรือ






แม้กระทั่งคนไทยทั้งประเทศ ได้ร่วมกันสร้างสรรค์สังคม ด้วยบริจาคทั้งทุนทรัพย์และกำลัง






เท่าที่สามารถช่วยได้ในการทำกิจกรรมให้การช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆ ซึ่งจะเห็นได้จาก






กิจกรรมทางสังคมนี้ ที่จะปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสังคมไทยนั้น เป็นสังคมที่เปี่ยมด้วยน้ำใจที่บริสุทธิ์






อย่างแท้จริง






3. อิสระ เสรี (Autonomy) โดยทั่วไปแล้ว บุคคลที่สำนึกในมโนธรรม






ประสบการณ์ชีวิต ย่อมจะเป็นบุคคลที่มีความสุขที่จะอยู่ในระเบียบวินัย สำหรับคนไทยนั้น






ค่านิยม ยังหมายรวมถึง อิสระ เสรีภาพ ซึ่งเมื่อได้รับการขัดเกลาแล้ว สามารถปกครองตนเอง






ให้อยู่ในทำนองคลองธรรมได้ ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้คณะกรรมการโครงการการศึกษาจริยธรรม ได้






ทำการกำหนดจริยธรรมที่ควรปลูกฝังแก่คนไทยไว้ 8 ประการ ดังนี้






1. การใฝ่สัจจะ คือ การยึดถือความจริง ศรัทะในส่งที่มีหลักฐานข้อมูลรับรองที่






สามารถพิสูจน์ ตรวจสอบได้ แสวงหาความรู้ความจริงได้






2. การใช้ปัญญาในการแก้ไขปัญหา คือ การใช้กระบวนการค้นหาความรู้ความจริง






เป็นทางออกอย่างมีเหตุผลเหมาะสม เพื่อแก้ปัญหาหรือขจัดอุปสรรคข้อยุ่งยากต่างๆ ที่เผชิญอยู่






3. เมตตากรุณา คือ การเสียสละนั้นไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อตนเอง แต่ช่วย






ให้ผู้อื่นได้พ้นจากความทุกข์กังวล






4. สติ-สัมปรัชญญะ คือ การที่บุคคลนั้นมีความรู้ตนเองอยู่เสมอว่า ตนกำลังทำ






อะไรอยู่และสามารถที่จะเตือนตนเองให้สามารถตัดสินใจที่แสดงออกมาทางด้านการประพฤติ






ปฏิบัติในทางที่ถูกต้องด้วยสติ






5. ไม่ประมาท คือ การที่กระทำอะไรก็ตาม จะต้องมีการวางแผน เพื่อเตรียมพร้อม






โดยต้องมีการคาดการณ์เพื่อรับผลที่ตามมาของการกระทำใดๆ ของตนเองอยู่สม่ำเสมอจนเกิด






เป็นนิสัย






6. ซื่อสัตยสุจริต คือ การมีจิตใจและการปฏิบันตนที่ตรงต่อความเจริญความถูกต้อง






ความดีงาม ตรงต่อหน้าที่ความรับผิดชอบ ตรงตามระเบียบแบบแผนและกฏเกณฑ์ต่อคำมั่น






สัญญา ซึ่งหาก ปฏิบัติแบบนี้แล้ว จะก่อให้เกิดการยอมรับในที่จะอยู่ร่วมกันในสังคมได้






7. ขยัน-หมั่นเพียร คือ การมีความพอใจต่อหน้าที่การงานของตนที่ได้รับผิดชอบ มี






จิตใจที่จดจ่อกับงานที่ตนเองได้รับผิดชอบ จนสิ้นสุดกระบวนการในการทำงาน






8. หิริ-โอตตัปปะ คือ การละอาย และเกรงกลัวต่อการประพฤติชั่ว การผิดศีลธรรม






ต่อมาได้มีการเพิ่มลักษณะจริยธรรมไทย 11 ประการ คือ






1. การมีเหตุผล 2. ความซื่อสัตย์






3. ความรับผิดชอบ 4. ความเสียสละ






5. ความสามัคคี 6. ความกตัญญูกตเวที






7. การรักษาระเบียบวินัย 8. การประหยัด






9. ความยุติธรรม 10. ความอุตสาหะ






11. ความเมตตากรุณา






ประเภทของจริยธรรม






การแบ่งประเภทของจริยธรรม แบ่งอกกเป็น 2 ประเภท ดั้งนี้ (พิภพ วัชเงิน : 2545,5)






1. จริยธรรมภายนอก เป็นจริยธรรมที่บุคคลแสดงออกทางพฤติกรรม






ภายนอกที่ปรากฏให้เป็นที่สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน เช่น ความรับผิดชอบ ความเป็นระเบียบ






เรียบร้อยความมีวินัย การตรงต่อเวลาเป็นต้น






2. จริยธรรมภายใน เป็นจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกนึกคิดหรือทัศนคติ






ของบุคคลิตามสภาพของจิตใจและสภาวะแวดล้อม เช่น ควงาใมซื่อสัตย์ ความยุติธรรม ความ






เมตตากรุณา ความกตัญญูกตเวทีเป็นต้น






โครงสร้างในด้านคุณลักษณะของจริยธรรม






คุณลักษณะของจริยธรรมเป็นสิ่งที่แสดงลักษณะเฉพาะของจริยธรรมเพื่อให้เห็นเด่นชัด






ในด้านหนึ่งและมีความแตกต่างจากจริยธรรมด้านอื่น ๆ ทั้งนี้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการ






จัดการด้านการศึกษาหลายหน่วยงาน ได้กำหนดโครงสร้างจริยธรรม พร้อมทั้งกำหนด






คุณลักษณะของจริยธรรม ไว้ดั้งนี้






1. ความรับผิดชอบ หมายถึง การปฏิบัติหน้าที่อย่างตั้งใจ มีความละเอียดรอบคอบ มี






ความพากเพรียรพยายามเพื่อให้งานหรือภาระที่รับผิดชอบอยู่บรรลุผลสำเร็จตรงตามเป้าหมาย






2. ความซื่อสัตย์ หมายถึง การประพฤติปฏิบัติตนอย่างตรงไปตรงมา ตรงต่อความเป็น






จริง ทั้งการ วาจา ใจ ต่อตนเองและผู้อื่น






3. ความมีเหตุผล หมายถึง การรู้จักใช้สติปัญญา ไตร่ตรอง คิดใคร่ครวญ หรือพิสูจน์






สิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ประจักษ์โดยไม่ผูกพันกับอารมณ์ และความยึดมั่นในความคิดของตนเอง






4. ความกตัญญูกตเวที หมายถึง ความรู้สึกสำนึกในบุญคุณของบุคคลผู้มีอุปการะคุณ






หรือสิ่งอันมีคุณต่อมนุษย์เรา และแสดงออกถึงความสำนึกในบุญคุณนั้นด้วยการตอบแทนคุณ






อาจกระทำด้วยสิ่งของหรือการกระทำอย่างนอบน้อม






5. ความอุตสาหะ หมายถึง ความพยายามอย่างยิ่งยวด เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จในการงาน






หรือกิจกรรมที่ทำด้วยขยันขันแข็งกระตือรือร้น อดทน ถึงแม้จะประสบปัญหาหรืออุปสรรค






ขัดขวางก็ไม่ยอมแพ้และไม่ย่อท้อ






6. ความสามัคคี หมายถึง ความพร้อมเพียงเป็นนำหนึ่งใจเดียวกัน การให้ความร่วมมือ






ในการกระทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จลุล่วงด้วยดีโดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม






มากกว่าประโยชน์ส่วนตัว รวมทั้งมีความรักในหมู่คณะของตน






7. ความมีระเบียบวินัย หมายถึง การควบคุมความประพฤติของตนเองให้ปฏิบัติได้อย่าง






ถูกต้องและเหมาะสมกับจรรยามารยาททางสังคม กฏ ระเบียบ ข้อบังคับ กฏหมายและศลีธรรม






8. ความเสียสละ หมายถึง การลดละความเห็นแก่ตัว การแบ่งปันแก่คนที่ควรให้ด้วย






ทรัพย์สิน กำลังกาย และกำลังปัญญาของตนเอง






9. ความประหยัด หมายถึง การใช้สิ่งของหรือใช้จ่ายอย่างระมัดระวังและพอเหมาะ






พอควร เพื่อให้เกิดประโยชนสูงสุด ไม่ฟุ้งเฟ้อ ฟุ้มเฟือยจนเกิดฐานะของตน






10. ความยุติธรรม หมายถึง การปฏิบัติตนด้วยความเที่ยงตรง การพิจารณาเรื่องราว






ต่างๆ จะต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง ไม่มีความลำเอียงหรือเข้ากับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง






11. ความเมตตากรุณา หมายถึง ความรักใคร่ปรารถนาจะให้ผู้อื่นเป็นสุข และมีความ






สงสารอยากจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นจากความทุกข์